วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ซีพียู ค่าย Cyrix

ความจริงแล้วปัจจุบันนี้จะใช้คำว่า Cyrix กับซีพียูเหล่านี้ไม่ได้อีกแล้วเนื่องจากมีการขายกันไปหลายทอด จาก Cyrix ไปเป็น IBM ไป NS (National Semiconductor) และในที่สุดก็ถูกซื้อไปโดยบริษัท VIA แต่คำว่า Cyrix ก็ยังเป็นชื่อที่คุ้นและเปรียบเหมือนเครื่องหมายการค้าอยู่ จึงของเรียกรวม ๆ ว่า Cyrix ไปก่อน ปัจจุบันจากการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง จึงดูเหมือนว่าซีพียูตระกูลนี้จะจบอยู่ที่รุ่นสุดท้ายคือ M II เท่านั้น ส่วนเทคโนโลยีของ Cyrix ได้ถูกนำไปใช้ในชิปรุ่นใหม่ของ VIA แทน


6x86(M I) Cyrix ได้รับความนิยมจากซีพียูรุ่น 6x86 (สังเกตว่าไม่มี MX ต่อท้าย) นี้มากพอสมควรเนื่องจากเป็นทางเลือกที่ถูกมาก ๆ เมื่อเทียบกับ Pentium ที่ใช้ความถี่เท่ากัน โดยรุ่นนี้เป็นการใช้ชื่อรุ่นที่เทียบเคียงกับความเร็วของ Pentium เช่นเดียวกับ AMD โดยมีรุ่น PR133+, PR150+, PR166+ และ PR200+ ให้เลือก เครื่องหมายบวกที่ตามหลังเป็นการพยายามบอกว่าอย่างน้อยเท่ากับ Pentium รุ่นนั้น ๆ หากแต่โดยรวมแล้วเร็วกว่า อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องความเข้ากันได้กับซีพียูของ Intel ทำให้ผู้ใช้ซีพียูตระกูลนี้เลิกรากันไปมากเหมือนกัน

M II และ

6x86MX M II เป็นซีพีรุ่นล่าสุดและรุ่นสุดท้ายของ Cyrix ก่อนที่จะขายกิจการไป ซีพียูรุ่นนี้เริ่มต้นจากยุคแรกที่ใช้ชื่อว่า 6x86MX ซึ่งเป็นความพยายามในการผลิตซีพียูที่เป็นยุคที่ 6 เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เทียบเท่ากันกับทั้ง Pentium MMX และ Pentium II โดยทำงานที่ความถี่ 150 MHz (แต่เทียบกับ Pentium ที่ 166 MHz จึงใช้ชื่อรุ่นเป็น PR หรือ Pentium Rate เช่นเดียวกับ AMD คือ PR166), PR166 (PR200), 187 (PR233) ใน 6x86 และในยุคที่ใช้ชื่อ M II เพื่อให้เกิดความแตกต่างโดยทำงานที่ความถี่ 250, 285 และ 300 แต่โดยความจริงแล้วก็คือ 6x86MX ที่ทำงานบนบัสที่เร็วขึ้น จากเดิมที่สูงสุดคือ 75 MHz ไปเป็น 95 MHz และ 100 MHz ซึ่งแม้จะมีราคาที่ถูกแล้วแต่ก็ยังสายเกินกว่าที่จะได้รับความนิยม รวมทั้งปัญหาในเรื่องความไม่เข้ากันกับซีพียูของ Intel อย่างเต็มที่อีกด้วย

ซีพียู ค่าย AMD

AMD เป็นผู้ผลิตซีพียูแบบเทียบเท่า (Compatible) กับ x86 รายแรกที่สามารถเทียบชั้นกับ Intel ได้ในปัจจุบัน ที่ผ่านมา AMD เริ่มต้นด้วยการรับจ้างผลิตซีพียูให้กับ Intel ในยุคของ 80286 ที่ Intel ผลิตเองไม่ทันขาย และต่อมาก็ได้พัฒนาซีพียูของตนเองขึ้นมาไล่ตาม Intel อยู่นาน จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้จึงได้สามารถแข่งขันกับซีพียูรุ่นล่าสุดของ Intel ไปได้ด้วยซีพียูรุ่นล่าสุดคือ Athlon (และทั้งสองฝ่ายต่างก็ผลัดกันออกซีพียูรุ้นใหม่ทีมีความเร็วสูงขึ้นไปอีกเพื่อมาเกทับกันอยู่ตลอดเวลา) รายละเอียดของซีพียูรุ่นต่าง ๆ ของ AMD มีดังนี้
K5 เป็นซีพียูรุ่นแรกของ AMD ที่เทียบเท่ากันกับ Pentium ของ Intel ประสิทธิภาพของ K5 จะใกล้เคียงกับ Pentium ทั้งนี้ AMD ไม่ใช้ความถึ่งของสัญญาณนาฬิกาเป็นชื่อของรุ่น เปลี่ยนไปใช้คำว่า PR ตามด้วยความเร็วของ Pentium ที่ซีพียูรุนนั้น ๆ เทียบเคียงด้วย เนื่องจาก K5 ใช้ความถี่ต่ำกว่า แต่ถ้าเทียบกันแล้วจะสามารถทำงานได้เร็วกว่า Pentium ซึ่งใช้ความถี่เดียวกัน ดังนั้นการใช้คำว่า PR (คือ Pentium Rate) จะให้ผลที่ดีกว่าในทางการตลาด ผู้ซื้อจะได้ไม่รู้สึกว่าซื้อของที่แย่กว่า ซีพียูรุ่นนี้มี 2 รุ่นย่อยคือPR 90 กับ PR 100 ที่เมื่อแรกออกมายังมีปัญหาค่อนข้างมาก ต่อมาได้ปรับปรุงให้ขึ้นได้เป็น PR 120, PR133 และ PR 166 ก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นรุ่น K6 ซึ่งทั้งเมนบอร์ด, ซ็อคเก็ต, บัส, และชิปเซ็ตที่ใช้จะเหมือนกันกัน ทุกประการ เว้นแต่แรงดันไฟฟ้าที่ใช้จะต่างกันไปตามรุ่น


K6 ซีพียูรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกในพัฒนาการของซีพียูรุ่นที่ 6 ของ AMD และได้ใส่ความสามารถ MMX เข้าไปด้วย ทำให้เมื่อเทียบชั้นกับ Pentium รุ่นที่เป็น MMX แล้วจะเหนือกว่าเล็กน้อย โดยภาพนอกยังคงใช้บัส 66 MHzและแคชขนาด 256 KB ถึง 1 MB แต่ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาที่ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 166,200,233 และ 266 MHz ส่วนเมนบอร์ด ซ็อคเก็ต และชิปเซ็ตที่ใช้จะเหมือนกันกับ Pentium ทุกประการ

K6-2 ซีพีรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ AMD ใส่คำสั่งแบบ 3Now! เข้าไปใน K6 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลคำสั่งที่มีข้อมูลจำนวนมาก เช่นการคำนวณทางด้านสามมิติ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากชุดคำสั่งแบบ MMX (ที่คอมแพตติเบิลกับของ Intel) ซึ่งมีอยู่แล้วใน K6 นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ใช้บัส 100 MHz และ ซ็อคเก็ตแบบ Socket 7 หรือ Super 7 แต่อย่างไรก็ตาม K6-2 ยังคงใช้แคชระดับสองอยู่ภายนอกซีพียู โดยมีขนาด 512 KB, 1 MB หรือ 2 MB ซึ่งต้องทำงานที่ความเร็วเดียวกันกับบัสภายนอก ทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร หลังจากนั้นไม่นาน AMD ก็ออก K6-3 ที่มีแคชระดับสองอยู่ในตัว ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น แต่ K6-2 ก็ยังคงมีอยู่มากมายหลายรุ่นราคาถูกมา ๆ เหมาะสำหรับู้ต้องการเริ่มต้นซื้อเครื่องที่ลงทุนน้อยแต่ได้คุณภาพสูงพอสมควร ความเร็วของซีพียูรุ่นนี้มีตั้งแต่ 300 MHz ขึ้นไปจนถึง 457 MHz

K6-3 ซีพียูรุ่นนี้เป็นการนำเอารุ่นเดิมคือ K6-2 มาเพิ่มแคชระดับสองขนาด 256 KB เข้าไปในชิป และเพิ่มความสามารถในการรองรับแคชระดับสามที่อยู่ภายนอก (บนเมนบอร์ด) ได้อีกด้วย ทั้งขนาด 512 KB, 1 MB และ 2 MB ส่วนแคชระดับหนึ่งมี 32 KB แบบสองทาง บัสที่ใช้มีความถี่ 100 MHz ใช้ซ็อคเก็ตแบบ Super 7 และมีชุดคำสั่ง MMX กับ 3Dnow! เช่นเดียวกันกับ K6-2 ความเร็วของซีพียูรุ่นนี้มีเพียง 400 และ 450 MHz เท่านั้น ประสิทธิภาพที่ได้ก็ใกล้เคียงกับ Pentium II ที่ใช้ความถี่เท่ากัน แต่อาจต่ำกว่าเล็กน้อย

Athlon ซีพียู Athlon ของ AMD หรือที่เดิมใช้ชื่อว่า K7 เป็นซีพียูตัวแรกของ AMD ที่ออกมานำหน้า Intel คือมีโครงสร้างที่ล้ำสมัยกว่า และมีความเร็วในทุก ๆ ด้านเหนือกว่าซีพียูรุ่นที่ Intel มีอยู่ในท้องตลาด ณ ขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านของหน่วยประมวลผลเลข floating point ซึ่ง AMD ไม่เคยทำได้เร็วเท่าของ Intel เลยแต่คราวนี้ก็ล้ำนำหน้าไปแล้วด้วยเช่นกัน ส่วนราคาก็ยังคงต่ำกว่าของ Intel อยู่เสมอเมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นอื่น ๆ รุ่น 500, 550 และ 600 MHz แต่ปัจจุบันได้ไปถึง 850 MHz แล้ว ซึ่ง Athlon รุ่นแรก ๆ จะผลิตโดยเทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.25 ไมครอน แต่ในรุ่นหลังซึ่งมีความถี่สูงขึ้นก็ได้ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการปลิตไปเป็น 0.18 ไมครอน เหมือนกับที่ ใช้ใน Pentium III
ซีพียู ค่าย Intel pentium
ซีพียูของ Intel ที่จะกล่าวนี้อยู่ในตระกูล P5 และ P6 ทั้งสิ้น คือโครงสร้างการทำงานพื้นฐานเหมือนกัน เพียงแต่มีส่วนประกอบหรือส่วนเพิ่มเติมบางอย่างที่แตกต่างกัน ดังนี้
Pentium จุดเริ่มต้นของ P5 ใช้แคชระดับสองบนเมนบอร์ดขนาด 256 KB ใช้เสียบกับ socket 4 และ socket 5 และใช้บัส 60 และ 66 MHz โดยมีความเร็วตั้งแต่ 60 จนถึง 200 MHz

Pentium MMX คือ Pentium ที่เพิ่มชุดคำสั่ง MMX ใช้เสียบกับ socket 5 และ socket 7 และใช้บัสความเร็ว 66 MHz โดยมีความเร็วตั้งแต่ 166 จนถึง 233 MHz

Pentium Pro จุดเริ่มต้นของ P6 มีแคชระดับสองอยู่ในตัวขนาด 256 ถึง 512 KB ใช้เสียบกับ socket 8 และทำงานที่บัสความเร็ว 60 และ 66 MHz ในรุ่น 150, 166,180 และ 200 MHz

Pentium II คือ Pentium Pro ที่เพิ่มชุดคำสั่ง MMX พร้อมแคชระดับ 2 ขนาด 512 KB แต่ทำงานที่ความเร็วเพียงครึ่งเดียวของซีพียู โดยอยู่บนแผง (ตลับหรือ Catridge) เดียวกัน แต่ไม่อยู่บนชิปซีพียู บรรจุในคาร์ทริดจ์ที่เรียกว่า SECC และเสียบลงใน Slot 1 มีรุ่นย่อยสองรุ่นคือ Klamath ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 0.35 ไมครอน ใช้บัน 66MHz กับ Deschutes ที่ใช้เทคโนโลยี 0.25 ไมครอน ใช้บัน 100 MHz

Celeron เกิดขึ้น เพราะ Intel ต้องการที่จะครองตลาดระดับล่าง หลังจากที่พลาดท่าเสียทีให้กับ AMD ไปแล้ว และ ทำให้เกิดบริษัทอื่นๆ ที่เริ่มตั้งตัวขึ้นมาเพื่อแย่งตลาดระดับล่าง ได้แก่ IDT ( Winchip ) ทั้งนี้ ก็เพราะราคา CPU ของ Intel สูงกว่า ของยี่ห้ออื่นๆ นั่นเอง ยิ่งเมื่อเทียบ คุณภาพที่เพิ่มขึ้น ต่อราคาที่เพิ่มขึ้น แล้ว ก็ไม่คุ้มกันเท่าไรนัก ทำให้ AMD เข้ามามีส่วนแบ่งตลาดระดับล่างมากเลยทีเดียว รวมทั้ง IBM, Cyrix ก็ด้วยเช่นกัน หลังจากที่ Intel ได้วางตลาด CPU ตัวใหม่คือ Pentium II ไปแล้ว แต่ด้วยราคาที่แพงมาก เมื่อเทียบกับ ของยี่ห้ออื่น รวมทั้งเปลี่ยน Interface ใหม่มาใช้บน SLOT 1 ซึ่งแน่นอน ใครที่คิดจะใช้ Pentium II ก็ต้องเปลี่ยน Mainboard ใหม่แน่ๆ เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองทำให้อนาคตในตลาดระดับล่างมืดมน แต่ทาง Intel ไม่ต้องการที่จะพลาดท่าเหมือนที่เคยพลาดมาแล้ว จึงได้ ออก CPU Celeron เพื่อมาดึงตลาดระดับล่างคืน โดย Celeron รุ่นแรกๆนี้ มีชื่อ code การผลิตว่า Covinton และ ใช้ Interface SLOT 1 เหมือน
ซีพียู Intel celeron ด้านหลังของซีดียู CeleronSocket 370
Pentium II Celeron Covinton นี้ ใช้ core เดียวกับ CPU Pentium II รุ่นใหม่ๆ ที่มีขนาดความเร็ว 350-450 MHz ( Deschutes core ) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการออกแบบ core ใหม่ และยังตัดส่วนของ cache ระดับ 2 ( L2 cache ) ออกไปด้วย ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงไปอีกมากพอตัวเลยทีเดียว โดยรุ่นแรกที่ออกมานั้น มีความเร็ว 266 และ 300 MHz และราคานั้น ก็ต่างจาก CPU Pentium II ที่ความเร็วเท่าๆกัน กว่าครึ่ง แต่แล้ว ฝันของ Intel ก็ต้องสลาย เพราะการที่ตัด L2 cache ออกไปนั้น เป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง จริงอยู่ที่ว่า ถ้าใช้เล่นเกมส์หรือทำงานง่ายๆแล้ว พวกนี้จะเร็ว พอๆกับ Pentium II แต่หากเป็นงานพวก Office Application หรืองานที่ต้องการ L2 cache แล้วละก็ผลที่ได้จาก Celeron รุ่นนี้ก็แย่มากๆเลยทีเดียว ซึ่งในขณะเดียวกัน นั้นเอง AMD ก็ออก K6-2 ซึ่งใช้ L2 บน Mainboard ที่มีขนาดตั้งแต่ 512K จนปัจจุบันนี้ ก็มี Mainboard ที่ มี L2 cache ถึง 2M ออกมา ก็ทำให้ งานด้านดังกล่าว AMD K6-2 ตี Celeron สาย Covinton เสียกระจุย Intel จึงต้องแก้ไข Celeron เสียใหม่ โดยการเพิ่ม L2 cache เข้าไปบนด้วย เป็น on-die cache ที่มีขนาด 128 KB และ ทำงานที่ความเร็วเดียวกันกับ CPU โดยที่ในส่วนของ CPU ยังคงใช้ architecture เดิม ต่างกันตรง L2 cache เท่านั้น และ ก็ทำการเรียกชื่อ code ใหม่ ว่า Mendocino โดยเริ่มใช้ความเร็วที่ 300MHz และเพื่อไม่ให้สับสนกับ Celeron 300 สาย Covinton จึงเรียกเป็น Celeron 300A
Pentium III เป็นการนำ Pentium II มาเพิ่มชุดคำสั่ง เช่น SSE เข้าไป ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 รุ่นคือรุ่น
Katmai มีคุณสมบัติดังนี้
ใช้เทคโนโลยี 0.25 ไมครอน ซึ่งต้องใช้ไฟเลี้ยงระดับ 2.0 ถึง 2.1 โวลต์ มีแคชระดับสอง (L2 Cache) ขนาด 512 KB อยู่ในแผงเดียวกันกับซีพียู แต่ไม่ได้ผลิตไว้บนตัวซีพียู หากแต่เป็นชิป SRAM ที่อยู่บนแผงวงจรเล็ก ๆ แผงเดียวกับซีพียูอีกทีหนึ่ง และทำงานด้วยความเร็วเพียงครึ่งหนึ่งของซีพียูมีเทคโนโลยี SSE ทีทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ ด้วยคำสั่งเดียวกันได้เร็วยิ่งขึ้นไปกว่า MMXความเร็วของบัสที่ใช้คือ 100-133 MHz และบรรจุในแผงวงจรที่อยู่ในตัวกล่องแบบ SECC-2 (Single Edge Connector Cartridge) ซึ่งใช้เสียบกับ Slot 1 บนเมนบอร์ดทั้งหมดมีการเพิ่มเทคโนโลยี Processor Serial Number ที่สามารถเรียกรหัสประจำตัวหรือเลขที่ (serials number) ของซีพียูที่ไม่ซ้ำกันออกมาได้ ซึ่งตอนแรกอินเทลคาดว่าจะช่วยในการทำงานกับอินเทอร์เน็ตและช่วยให้การทำ E-commerce เชื่อถือได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันผู้คนส่วนใหญ่ ผู้ใช้จึงพากันประท้วงและต่อต้านจนในที่สุดอินเทลก็ยอมแพ้โดยจัดการปิดคุณสมบัตินี้ไว้ก่อนในชิปที่ออกมาจากโรงงาน ส่วนใครต้องการจะใช้จริง ๆ ก็จะต้องมีโปรแกรมจัดการปลุกคุณสมบัติข้อนี้ขึ้นมาทำงานเอาเองทีหลัง

ตารางแสดงรุ่นต่าง ๆ ของ Pentium III รุ่นแรก Katmai

ชื่อรุ่นของ Katmai ตัวคูณ ความถี่บัส(MHz)


Pentium III 600B*

Pentium III 600

Pentium III 550

Pentium III 533B*

Pentium III 500

Pentium III 450

4.5

5.5

6

5.5

5

4.5

133

100

100

133

100

100



รุ่น ใหม่ Coppermine มีคุณสมบัติดังนี้
ใช้เทคโนโลยี 0.18 ไมครอน ที่ทำให้ขนาดเล็กลงมาก และใช้ไฟเลี้ยงลดลงเป็น 1.1 ถึง 1.7 โวลต์เปลี่ยนแคชไปเป็น 256 KB ซึ่งเล็กลงครึ่งหนึ่งแต่มีความเร็วเท่ากับความเร็วซีพียู คือเร็วขึ้นเป็นสองเท่าของชิปเดิม โดยผลิตพร้อมกันกับตัวซีพียู คือใส่ไว้บนชิปตัวเดียวกันเลย ทำให้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นแผงวงจรสำหรับซีพียูและแคชอีกต่อไป ดังนั้นจึงสามารถกลายเป็นชิปธรรมดาแบบ FPGA ที่เสียบลงบนซ็อคเก็ตแบบที่เรียกว่า socket 370 ได้เลยและแม้ว่าขนาดของแคชจะลดลงครึ่งหนึ่งจาก 512 KB เหลือ 256 KB แต่ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นเท่าหนึ่งกับการปรับปรุงระบบแคชและบัส ก็ทำให้ประสิทธิภาพยังคงดีขึ้นกว่าเดิมได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ Intel เรียกว่า Advanced Transfer Cache ซึ่งทำให้แคชสามารถทำงานได้เร็วยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม โดยขยายความกว้างของบัสระหว่างซีพียูกับแคชจากเดิม 64 บิตไปเป็น 256 บิต ซึ่งทำให้ส่งข้อมูลเร็วขึ้นถึง 4 เท่า และเพิ่มระดับการแคชจากเดิม 4 ทางขึ้นไปเป็น 8 ทางได้ (8-way associative) นอกจากนี้ยังลดระยะเวลาในการเข้าถึงข้อมูลในแคชลงอีกด้วย ทำให้การส่งผ่านข้อมูลทำได้เร็วยิ่งขึ้นไปอีกเพิ่ม buffer ของบัส ซึ่ง Intel เรียกการปรับปรุงนี้ว่า Advanced System Buffering โดยการเพิ่ม fill buffer จาก 4 ไปเป็น 6 เพิ่มคิวของบัสจาก 4 ไปเป็น 8 และเพิ่ม write-back buffer จาก 1 ไป เป็น 4 เพื่อให้สามารถรองรับบัสที่ความเร็ว 133 MHz ได้เป็นอย่างดีสำหรับ Coppermine รุ่นที่ใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก จะเพิ่มเทคโนโลยี Speedstep ซึ่งทำให้ซีพียูสามารถลดความเร็วและระดับแรงดันไฟฟ้าลงโดยอัตโนมัติเมื่อใช้ไฟจากแบตเตอรี่เพื่อประหยัดพลังงานแต่จะเปลี่ยนกลับไปทำงานด้วยความเร็วเต็มที่เมื่อใช้ไฟเลี้ยงภายนอก



ซีพียู Pentium III ด้านหลังของ ซีพียู Pentium III Socket 370




ซีพียู Pentium IIICoppermine

ซีพียู Pentium IIIICoppermine แบบ slot 1

CPU Intel Pentium 4 Processor

แสดงโครงสร้างการทำงานและ
การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก





Available Speeds :
1.50 GHz,1.40 GHz,and 1.30 GHz
Features :
Intel R NetBurstTM micro-architecture
400 MHz system bus
Hyper-pipelined technology
Rapid execution engine
Execution trace cache
Advanced transfer cache
Advanced dynamic execution
Enhance floating point/multimedia
Streaming SIMD extensions 2
Chipset :
Intel R 850 Chipset
Desktop Board :
D850GB
RAM:
Dual Channel RDRAM

หน้าที่ของ CPU

Link >>


CPU ค่าย Intel

CPU ค่าย AMD

CPU ค่าย Cyrix




>>โครงสร้างของ CPU >>หน้าที่ของ CPU >>กลไกการทำงานของ CPU >>พัฒนาการของ CPU >>การจำแนก CPU >>การเปรียบเทียบรุ่นของ CPU >>การโอเวอร์คล็อก (Overclock)
หน้าที่ของ CPU (Central Processing Units) คือปฏิบัติตามชุดคำสั่งและควบคุมการโอนย้ายและประมวลผลข้อมูลทั้งหมด ส่วนต่างๆของซีพียูแยกเป็น ส่วนได้ดังนี้

1. ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary)
ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัวคือ 0 กับ 1 มีความหมายว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ หรือ ถูก ผิด คำสั่งทุกคำสั่งที่ ไมโครโพรเซสเซอร์รับมาประกอบจากคำสั่งหลายๆคำสั่งที่โปรแกรมเมอร์คอมไพล์มาจากภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น (BASIC, COBAL, C) เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะเข้าใจคำสั่งเหล่านี้ จะต้องแปลงให้เป็นไบนารีก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นใน decode unit ของไมโครโพรเซสเซอร์
2. แอดเดรส คือตัวเลขที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลในหน่วยความจำ หรือ Storage ข้อมูลที่ซีพียูประมวลผลจะแสดงด้วยแอดเดรสของข้อมูล ไม่ใช่ค่าจริงๆของข้อมูล
3. บัส ชุดของเส้นลวดนำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบัสในคอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) หรือระบบบัส (system bus) ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต หน่วยความจำหลักและซีพียู ภายในซีพียูเองก็มีบัสภายในที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลระหว่าง หน่วยต่างๆ ที่อยู่ภายในที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงสร้างย่อยในชิป
4. หน่วยความจำแคช แคชมีความสำคัญมากต่อซีพียู เพราะหากไม่มีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชแล้ว โปรเซสเซอร์ก็จะเสียเวลาส่วนใหญ่สำหรับการ หยุดรอข้อมูลจากแรมซึ่งทำงานช้ากว่าแคชมาก โปรเซสเซอร์จะมีแคช 2 แบบคือ แคชระดับหนึ่ง (Primary cache หรือ L1) และแคชระดับสอง (secondary cache หรือ L2) ต่างกันตรงตำแหน่ง โดย L1 cache อยู่บนซีพียู เรียกว่า on-die cache ส่วน L2 cache อยู่บนเมนบอร์ด เรียกว่า off-die แต่ในปัจจุบัน L2 cache เป็น on-die กันแล้ว หน่วยความจำแคชเป็นที่เก็บคำสั่งและข้อมูลก่อนที่จะส่งให้ซีพียู
5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา หมายถึงจำนวนรอบที่ซีพียูทำงานเมื่อสัญญาณนาฬิกาในเครื่องผ่านไปหนึ่งช่วงสัญญาณนาฬิกาแสดงด้วยหน่วย เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือเท่ากับ 1 ล้านรอบต่อวินาที (โปรเซสเซอร์คนละชนิดหรือคนละรุ่นถึงแม้จะมีสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน แต่อาจเร็วไม่เท่ากันก็ได้ เพราะมีโครงสร้างภายในและชุดคำสั่งที่แตกต่างกัน)
6. รีจิสเตอร์ เป็นหน่วยความจำไดนามิกขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในโครงสร้างของโปรเซสเซอร์ รีจิสเตอร์ใช้เก็บข้อมูลที่ถูกประมวลผลไว้จนกว่าจะ พร้อมที่จะส่งไปคำนวณ หรือส่งไปแสดงผลให้แก่ยูสเซอร์
7. ทรานซิสเตอร์ เป็นจุดเชื่อมต่อแบบ 3ทางอยู่ภายในวงจรของโปรเซสเซอร์ ประกอบด้วยชั้นของวัสดุที่เป็นขั้วบวก และขั้วลบ ซึ่งสามารถขยายกระ แสไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้น หรือขัดขวางไม่ให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ต่อ
8. Arithmetic logic unit (ALU) เป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ใช้ในการคำนวณผลทางคณิตศาสตร์และการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ การเปรียบเทียบ เชิงตรรกะเป็นการเปรียบเทียบค่าไบนารีเพื่อหาว่า ควรจะส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านเกตบางตัวในวงจรของโปรเซสเซอร์หรือไม่ การทำงานอยู่ในรูปแบบของ
"ถ้า x เป็นจริง และ y เป็นเท็จ แสดงว่า z เป็นจริง"
9. Floating - Point Unit (FPU) มีหน้าที่จัดการกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับเลขทศนิยม หรือตัวเลขที่เป็นเศษส่วน การคำนวณเลขทศนิยมมักเกิดขึ้นเมื่อพีซีรันโปรแกรมพวกกราฟฟิก เช่นโปรแกรม CAD หรือเกมส์ 3 มิติ
10. Control Unit หลังจากที่ซีพียูรับชุดคำสั่งหรือข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาแล้ว หน่วยควบคุมนี้จะรับหน้าที่พื้นฐาน 4 อย่างด้วยกันคือ fetch โดยการส่งแอดเดรสของคำสั่งถัดไป ไปยังแอดเดรสบัส แล้วนำค่าที่ได้ไปเก็บไว้ในแคชคำสั่งภายในซีพียู decode โดยส่งคำสั่งปัจจุบันจากแคชคำสั่งไปยัง decode unit execute เริ่มกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะภายใน ALU และควบคุมการไหลของข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางที่เหมาะสม store บันทึกผลลัพธ์จากคำสั่งไว้ในรีจิสเตอร์หรือหน่วยความจำที่เหมาะสม
11. Decode unit รับหน้าที่ดึงคำสั่งภาษาเครื่องจากแคชคำสั่ง และเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไบนารีโค้ด เพื่อให้ ALU สามารถนำไปใช้ประมวลผล
ซีพียูในเครื่องพีซีทั่วไปจะเป็นชิปไอซี (IC-Integrated Circuit) ตัวเล็กขนาดวางบนฝ่ามือได้ซึ่งเรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ในตระกูลที่เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท อินเทล ที่เรียกกันว่าตระกูล 80x86 (x หมายถึงตัวเลขใด ๆ) เริ่มต้นตั้งแต่ 8086,80286,80386,80486 จนถึงรุ่นใหม่ที่ตอนพัฒนาใช้ชื่อรหัสว่า P5 แต่พอวางตลาดจริงก็เปลี่ยนชื่อจากเดิมที่จะเป็น80586 หรือ 586 ไปเป็น"เพนเทียม" (Pentium) ด้วยเหตุผลทางการค้าทีว่าชื่อ 586 เป็นเพียงตัวเลข 3 ตัว ไม่สามารถสงวนสิทธิ์การใช้งานและห้ามการลิกเลียนแบบในฐานะเครื่องหมายการค้าได้ รวมถึงรุ่นล่าสุดที่พุฒนาต่อจาก Pentium หรือ P6 คือ ตระกูล ซึ่งประกอบด้วย Pentium Pro และ Pentium II Pentium III, Pentium 4 processor และ ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีซีพียูจกบริษัทคู่แข่งอกจำหน่าย นั่นคือ Advance Micro Device หรือ AMD และยังรวมถึงรายย่อยอีก 2 ราย คือ Cyrix และ IDT ซึ่งทั้งสองรายนี้ปัจจุบันขายกิจการให้ VIA ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปเซ็ตรายใหญ่ของไต้หวันไปแล้ว


ที่มา : http://kroo.ipst.ac.th/wkv/cpu.html

>>หน้าแรกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
>>CPU ค่าย Intel