วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552

ฟูจิตสึ M1010 ใหม่ฮาร์ดิสก์ใหญ่ขึ้น


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็มส์ บิสซิเนส (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประกาศเปิดตัว “Fujitsu M1010” คอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊ค เวอร์ชั่นใหม่ ที่มีความจุฮาร์ดดิสก์มากถึง 120 GB แต่ยังคงโดดเด่นด้วยหน้าจอแบบไวด์สกรีน 8.9 นิ้ว ตัวเครื่องสีขาวและน้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัม กล้องเว็บแคม 1.3 ล้านพิกเซล พร้อมโปรแกรม Instant Messaging หรือการโทรผ่านวอยซ์ โอเวอร์ ไอพี โดยมีฟีเจอร์ลดเสียงรบกวน และบลูทูธ เวอร์ชั่น 2.1 รองรับการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูล นอกจากนี้ยังคลิกเพื่อเปลี่ยนหน้ากากได้ มีให้เลือกถึง 6 สีคือ สีแดง ชมพู บรอนซ์ น้ำเงิน ใส และดำ ฟูจิตสึ M1010 รุ่นใหม่นี้ วางจำหน่ายในราคา 19,900 บาท (ไม่รวม VAT) ผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 351-8282 หรือ http://th.fujitsu.com/pc

เอชพีจับมือซันฯ เซ็นสัญญาร่วมระบบปฏิบัติการ Solaris

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด หรือเอชพี และบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ อิงค์ ทำให้เอชพีสามารถจัดจำหน่าย1 และนำเสนอซอฟต์แวร์สนับสนุนด้านเทคนิคสำหรับระบบปฏิบัติการ Solaris 10 ของซันบนเซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant และแพลทฟอร์มระบบเบลดภายใต้เงื่อนไขของการรับจ้างผลิตสินค้าแท้ (OEM) ทั้งนี้ ข้อตกลงด้านการสนับสนุนใหม่นี้ ทำให้ซันกลายเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่ายระบบปฏิบัติการของ HP ProLiant และระบบปฏิบัติการ Solaris ก็ได้ถูกยกระดับขึ้นมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในสภาพแวดล้อมของระบบปฏิบัติการบนแพลทฟอร์ม HP ProLiant2

รายงานข่าวแจ้งว่า ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดแนวทางให้ทั้งสองบริษัททำงานร่วมกันเพื่อขยายความต้องการสำหรับทั้งระบบปฏิบัติการ Solaris และ OpenSolaris บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant และเซิร์ฟเวอร์เบลดในตลาดใหม่ๆ ด้วยการบริการแบบจุดเดียวครอบคลุมทั้งการซื้อ การติดต่อ และการตรวจสอบสำหรับระบบปฏิบัติการ Solaris บนผลิตภัณฑ์ HP ProLiant เอชพีและซันจึงสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าให้แก่ลูกค้าอย่างครบวงจร และนอกเหนือจากการช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติการ ทั้งสองบริษัทจะร่วมมือกันในการผสานรวมระบบปฏิบัติการ Solaris 10 และซอฟต์แวร์ HP Insight ลงบนเซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant เพื่อนำเสนอการใช้งานและการบริหารจัดการที่ดียิ่งขึ้น

นายโทนี่ พาร์คินสัน รองประธาน กลุ่มผลิตภัณฑ์สตอเรจและเซิร์ฟเวอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด หรือเอชพี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า การขยายสภาพแวดล้อมของระบบปฏิบัติการบนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวรองรับแอพลิเคชั่นที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ การรวมตัวกันของระบบปฏิบัติการ Solaris และ ผลิตภัณฑ์ HP ProLiant ได้นำเสนอประสิทธิภาพการทำงานที่สูงสุด และความสามารถในการรองรับการทำงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นบนเซิร์ฟเวอร์ x86 อย่างไรก็ตาม การเซ็นสัญญาครั้งนี้ส่งผลให้ลูกค้าของทั้งสองบริษัทเกิดความมั่นใจสูงสุดในการสร้างความเติบโตทางธุรกิจ โดยที่ยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายไว้ได้

นายจอห์น ฟาวเลอร์ รองประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจซิสเต็มส์ บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ กล่าวว่า การประกาศตัวสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Solaris บนผลิตภัณฑ์ HP ProLiant ได้ขยายตลาดของระบบปฏิบัติการ Solaris บนเซิร์ฟเวอร์ x86 ให้เพิ่มมากขึ้น โดยเกิดจากกลุ่มผู้จำหน่ายระบบปฏิบัติการ UNIX และ Linux ที่มียอดจำหน่ายสูงสุด นอกจากนี้ ด้วยความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นบวกกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของระบบปฏิบัติการ Solaris จึงสามารถช่วยขับเคลื่อนการใช้งานให้มากขึ้น ทั้งนี้ จากการเซ็นสัญญากับเอชพียังจะขยายความร่วมมือไปยังกลุ่มระบบปฏิบัติการ OpenSolaris และร่วมมือกับผู้ใช้รายอื่นๆ ในด้านการพัฒนาและการทำงานร่วมกันอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการ overclock

โอเวอร์คล็อกคืออะไร นี่อาจจะเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ผมจะกล่าวถึงการ "โอเวอร์คล็อก" ให้ฟังอย่างง่าย ๆ ครับว่า ผลของมันจะทำให้เครื่องของเราเร็วขึ้น แรงขึ้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แค่นี้ก็ชักจะสนใจกันแล้วใช้ไหมล่ะ ผมว่าเรามาทำความรู้จักกับการโอเวอร็คล็อกให้มากกว่านี้กันดีมั้ยครับ
เคยมีคนสงสัยว่า การโอเวอร์คล็อกนั้นจะทำให้เครื่องของเรา เร็วขึ้น แรงขึ้น ได้อย่างไร คำตอบก็คือ มันเป็นการเพิ่มความเร็วให้กันซีพียู โดยการปรับแต่งความเร็วของระบบบัสภายใน หรือการปรับเปลี่ยนความถี่ของซีพียูให้มีค่าเปลี่ยนไปจากเดิมที่ใช้กันอยู่ อย่างเช่นปกติเราใช้ซีพียูความเร็ว 1000 เมกะเฮิรตซ์ และเมื่อเรานำมาโอเวอร์คล็อกแล้ว ซีพียูของเราจะมีความเร็วเพิ่มจาก 1000 เมกะเฮิรตซ์ ไปเป็น 1300 เมกะเฮิรตซ์ อาจจะมากหรือน้อยกว่าก็ได้ โดยที่เราไม่ต้องซื้อซีพียูตัวใหม่ และเสียเงินเสียทองในการโอเวอร์คล็อกแต่อย่างใด แต่เมื่อจะเริ่มโอเวอร์คล็อกเรามารู้หลักการและคำศัพท์กันก่อนนะครับ

คำศัพท์ที่ต้องรู้จักก่อนการโอเวอร์คล็อก
Front Side BUS
เรียกกันสั้น ๆ ว่า FSB หรือบัสก็ได้ ซึ่งหมายถึง เส้นทางการส่งข้อมูลของลายวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง FSB นั้น จะส่งข้อมูลและทำงานไปพร้อมๆ กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่อยความจำ และสล็อตต่างๆ บนเมนบอร์ด อย่างเช่นสล็อต AGP , PCI ซึ่ง FSB สัญญาณนาฬิการที่เราเรียกกันว่าความถี่ ที่อุปกรณ์แตะละตัวก็จะมีแตกต่างกันออกไป ซึ่ง FSB จะเป็นตัวควบคุมจังหวะการทำงาน ว่าจะรับหรือจะส่งจังหวะเร็วก็ส่งเร็วเมื่อจังหวะช้าก็ส่งช้า เป็นต้น

Multiplier (ตัวคูณ)
ซีพียูทุกตัวทั้งซีพีจากค่าย lnter หรือ AMD ต่างก็มีตัวคูณอยู่ในตัวซีพียูอยู่แล้วซึ่งซีพียูแต่ละตัวจะมีตัวคูณที่ไม่เท่ากันเช่น AMD Athlon XP 2500+ ใช้ตัวคูณ 11.0xและใช้ FSB 166 เมกะเฮิรตซ์(11x166=1826 เมกะเฮริตซ์) แต่ละส่วน AMD Athlon64 3200+ ใช้ตัวคูณ 10.0x แต่ใช้ FSB 200 เมกะเฮิรตซ์ (10x200=2000 เมกะเฮริตซ์) จะเห็นว่าซีพียูแต่ละตัวก็ใช้ FSB ที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกันครับ แต่ในทางโอเวอร์คล็อกซีพียู บางตัวเปลี่ยนค่าตัวคูณได้ ( AMD) และซีพียู บางตัวก็เปลี่ยนคูณไม่ได้ (lntel) ซึ่งการเพิ่มตัวคูณนั้นจะไม่มีผลการทบต่ออุปกรณ์รอบข้างแต่อย่างใด แต่นั้น อย่าไปสับสนกับ FSB นะครับ

Vcore
หมายถึงไฟที่ใช้เลี้ยงซีพียูและแน่นอนครับว่าเราสามารถที่จะเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับซีพียูได้ ซึ่งซีพียูทุกตัวต่างก็มีไฟเลี้ยงในตัวเอง และใช้ไฟเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น lntel Celeron D Processor 330 2.66 กิกะเฮิรตซ์ ใช้ไฟเลี้ยง 1.4 โวลต์ และ AMD Atlon64 FX-53 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ใช้ไฟเลี้ยง 1.6 โวลต์ แต่ในทางเทคนิคของการ โอเวอร์คล็อกนั้น การที่เราเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับซีพียูสูงๆ จะทำให้สามารถโอเวอร์คล็อกได้สูงๆ ด้วนเช่นเดียวกัน เพราะซีพียูทำงานหนักขึ้น ก็ต้องใช้พลังงานที่มากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการระบายความร้อนให้กับซีพียูอีกด้วยส่วนผลเสียก็คือเมื่อเราเพิ่ม Vcore มากจนเกินไป แล้วเราไม่ได้ความคุมระบบระบายความบนตัวซีพียูให้ดี ซีพียูของคุณอาจจะไหม้ หรือลาโลกไปเลยก็เป็นได้



Vmem, VDD
เป็นไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับหน่วยการความจำ ซึ่งหน่วยความจำ DDR1 ทั่วนั้นจะมีกำลังไฟเลี้ยงที่ 1.6 โวลต์ แต่ถ้าเป็นDDR2 ก็จะมีไฟเลี้ยง 1.4 โวลต์ หลักในการเพิ่มไฟเลี้ยงก็จะคล้ายคลึงกับ Vcore ยิ่งไฟเลี้ยงเยอะเท่าไรก็จะทำให้เราโอเวอร์คล็อกแรมที่ความถี่สูง ๆ เยอะเท่านั้น ทั้งนี้ก็อยู่อยู่กับคุณภาพของแรมด้วยว่าจะรับความถี่สูง ๆ ได้มากน้อยเพียงใด อีกอย่าก็คือการระบายความที่ดีด้วย

VIO
นี่คือไฟเลี้ยงที่ป้อให้กับซิปเซต ซึ่งส่วนมากแล้วเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งค่านี้ได้จะเป็นเมนบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับการโอเวอร์คล็อกจริงๆ อย่างเช่นเมนบอร์ดจาก ABIT,DFI,MSI,และ ASUS เป็นต้น ซึ่งสามารถปรับ VIO ให้กับซิพเซ็ตได้อีกด้วย

Cas latency
เรียกกันสั้นๆ ว่า CL หรือ Timing ก็ได้ครับ คืออัตราการรีเฟรซข้อมูลของแรมในหนึ่งลูกคลื่น ซึ่งการรีเฟรชข้อมูลในหน่วยความจำบ่อย ๆ หรือ CL น้อย ๆ จะทำให้แรมทำงานได้เร็ว เนื่องจากใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลสั้นลง ซึ่งค่า CL นั้นจะเป็นตัวเลขที่ต่อท้าย 4 ตัวของแรม เช่น แรมยี่ห้อ Corsair DDR XMS 512 MB PC3200 2-7-3-3 จะเป็นค่าของเวลาที่แรมจะทำการหน่วงข้อมูลแล้วส่งต่อไปยัง Chipset และ Chipset ก็จะประมวลผลอีกที (ถ้าค่า CL ยิ่งต่ำเท่าไรแรมก็จะส่งข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น)

AGP/PCI
หมายถึง ความเร็วของการ์ดแสดงผลที่เป็นอินเทอร็เฟช AGP ที่มีความเร็ว 66 เมกะเฮิรตซ์ และความเร็วของอุปกรณ์ PCL ที่มีความเร็ว 33 เมกะเฮิรตซ์ ค่า 2 ค่านี้จะเปลี่ยนตาม FSB ซึ่งหากเมนบอร์ดปรับอัตราทดได้แล้วนั้น ค่า AGP/PCI จะทำงานที่ความเร็วดังในตาราที่แสดงอยู่ แต่เมนบอร์ดบางรุ่นสามารถที่จะกำหนดความถี่ให้กับความเร็วของ AGP/PCI เมื่อเราปรับ FSB ให้สูงขึ้น



การโอเวอร์คล็อกสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ
1. โอเวอร์คล็อกแบบปรับ FSB อย่างเดียว
แบบนี้เป็นการเพิ่มความถี่ของ FSB ให้มากขึ้น แล้วความเร็วของซีพียูจะเปลี่ยนไปตามค่าความถี่ที่เราเปลี่ยนไป จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าตัวคูณของซีพียูนั้นจะมีมานชกน้อยเพียงใด เช่น ปกติซีพียูทำงานที่ความเร็ว 1000 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 10x100= 1000 เมกะเฮิรตซ์ จากนั้นเมื่อทำการเปลี่ยนตาม คือ 10x133=1330 เมกะเฮิรตซ์ นั่นเอง โดยเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ทุกวันนี้จะกำหนดค่าของ FSB ได้ ซึ่งค่า FSB ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความเร็วอื่น ๆ (ค่าความถี่ของอุปกรณ์อื่นๆไม่สูงตาม FSB) นั้นก็คือ FSB133,166 และ 200เมกะเฮิรตซ์ กล่าวคือ ถ้าเราใช้งานที่ FSB ดังกล่าวแล้ว AGP/PCI จะทำงานปกติที่ 66/33 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งไม่มีผลเสียใด ๆ
• ผลเสียของการโอเวอร์คล็อกแบบปรับ FSB
คือจะทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ ทำงานผิดไปจากเดิม เนื่องจาก FSB ของระบบเปลี่ยนไป เนื่องจากอุปกรณ์ทุกอย่างเสียบลงบนเมนบอร์ด แล้ว FSB ของระบบเปลี่ยนไปอุปกรณ์อื่นๆ ก็ต้องทำงานแล้ว หรือช้าตาม FSB นั้นตามไปด้วย แต่ปัญหานี้แก้ได้ไม่ยากครับ ถ้าเมนบอร์ดของท่านปรับอัตราทด AGP/PCI ได้ หรือกำหนดค่าได้นั้น ก็จะทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานที่ความเร็วเดิมแม้ FSB จะเปลี่ยนไปตามก็ตาม

2. การโอเวอร์คล็อกแบบปรับตัวคูณอย่างเดียว
เป็นวิธีที่บ่ายที่สุดแต่สามารถทำได้กับซีพียูจากค่าย AMD เท่านั้นยกตัวอย่างเช่น ปกติเรามีความเร็วซีพียูที่ 1000 เมกะเฮิรตซ์
(10x100=1000 เมกะเฮิรตซ์) จากนั้นเราทำการปรับตัวคูณ CPU จาก 10 เป็น 12 เราก็จะได้ความเร็ว CPU ใหม่เป็น 12x100=1200 เมกะเฮิรตซ์ นั้นเอง หรืออาจจะปรับขึ้นไปพร้อม ๆ กับการเพิ่ม Vcore ก็ได้ครับ แต่จะขอให้ค่อย ๆ ปรับขึ้นไปทีละขั้นๆ ไป อย่าใจร้อนปรับแบบก้าวกระโดด
• ผลเสียของการโอเวอร์คล็อกแบบปรับตัวคูณ
จะทำให้ CPU เร็วขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ระบบโดยรวม หรือความถี่ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานที่ความเร็วเท่าเดิม

3. โอเวร์คล็อกแบบปรับ FSB และ ตัวคูณ ไปพร้อมๆ กัน
การโอเวอร์คล็อกด้วยวิธีนี้ ถือว่าเป็นการโอเวอร์คล็อกเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ทั้งความเสถียรของระบบและความเร็ว เพราะจะทำให้ระบบโดยรวมทำงานได้เร็วสูสีกันไป ไม่ใช่ว่าเร็วเฉพาะซีพียูเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การระบายความร้อนก็มีผลต่อการโอเวอร์คล็อก
พูดถึงความร้อนของอุปกรณ์ภายในเครื่องให้ไฟฟ้าภายในบ้านก็มีทั้งนั้นแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นทีวี ตู้เย็น แต่คอมพิวเตอร์นี่สิปกติก็มีความร้อนออกมาอยู่แล้ว ยิ่งถ้าโอเวอร์คล็อกแบบอัด Vcore,Vmem เพิ่มไฟต่างๆ แล้วละก็ ความร้อนมีผลอย่างมากในการที่เราจะโอเวอร์คล็อก ดังนั้นเราควรดูแลและความคุมอุณหหภูมิมิให้อยู่ในระดับที่ไม่อันตรายจะเกินไป ซึ่งอุณหภูมิดังกล่าวจะไม่เกิน 60 องศา นี่เป็นอุณหภูมิที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อตัวซีพียู แต่ถ้าโอเวอร์คล็อกแล้วละก็สมควรอย่างยิ่งที่จะควบคุมให้อุณหภูมิไม่ถึง 40-50 องศา ทั้งนี้ก็เพื่อความเสถียรในการทำงานครับ


ปัจจัยที่มีผลต่อการโอเวอร์คล็อกที่ต้องรู้ไว้
เวลาโอเวอร์คล็อกขอให้ค่อยๆ ปรับขึ้นไปเป็นระดับขั้น อย่าใจร้อนและปรับแบบก้าวกระโดด
• ซีพียูทุกตัวจะสามารถโอเวอร์คล็อกขึ้นไปได้ไม่เท่ากันแม้ว่าจะเป็นรุ่นเดียวกันก็ตาม การระบายความร้อนที่ดี ส่งผลให้ระบบและซีพียูเย็นตามกันไปด้วย และจะสามารถโอเวอร์คล็อกไปที่ความเร็วสูงๆได้โดยที่ไม่มีอาการผิดปกติ
• เมนบอร์ดที่ดีจะมีฟังก์ชันในการโอเวอร์คล็อกที่ครบครันสามารถปรับและกำหนดค่าต่างๆ ได้ทั้งหมด
• Vcore ยิ่งเพิ่มมากยิ่งโอเวอร์คล็อกไปได้มากเช่นเดียงกัน
• หน่วยความจำ (RAM) ที่ดีต้องรับกับความถี่และ FSB สูงๆ ได้และมีค่า Timing ต่ำๆ
• ปัจจัยอื่นๆ เช่นอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ต้องรู้ว่ารับกับความถี่สูงๆ ได้ไหมและดูองค์ประกอบโดยรวมไปถึงระบบระบายความร้อนให้ซิปต่างๆ บนเมนบอร์ด Vmem,VIO และอุณหภูมิของห้อง


ผลเสียของการ Overclock

• ทำให้ซีพียูทำงานหนักขึ้น เนื่องจากเกินจากสเปกเดิมที่ทางรงงานได้ผลิตมา ส่งผลให้ซีพียูมีอายุในการทำงานที่สั้นลงประมาณ 10% แต่อย่าลืมว่าซีพียูในปัจจกุบันออกมากันอย่างรวดเร็วจะเสียดายไปทำไมล่ะครับ (หมายความว่ายังไงก็ตกรุ่นเร็วอยู่แล้ว ก่อนทิ้งไปใช้ของใหม่ก็เอาตัวเก่ามาซ้อมมือก็ได้)
• อุปกรณ์โดยรวมที่เราได้โอเวอร์คล็อกแบบปรับ FSB ขึ้นไป ก็จะส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่เสียบอยู่บนเมนบอร์ดด้วย อาจเกิดปัญหาในการทำงานได้ แต่ถ้ารู้ว่าจุดไหนบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะรับมือได้อย่างสบาย
• อุปกรณ์ที่จะนำมาร่วมโอเวอร์คล็อกให้ได้ประสิทธิภาพ มีราคาที่แพงกว่าปรกติอยู่เล็กน้อย ซึ่งเป็นธรรมดาครับ แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้น บอกได้เลยว่าเกินคุ้ม
• ต้องคอยดูแลและตรวจเช็คระบบอย่างสม่ำเสมอ ว่าอุปกรณ์แต่ละตัวยังทำงานปกติหรือไม่ ๆ
เมื่อเราทราบถึงหลักการของการโอเวอร์คล็อกกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถโอเวอร์คล็อกซีพียูได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เท่าที่เมนบอร์ดของแต่ละตัวที่ใช้จะสนับสนุนให้ปรับแต่งได้มากน้อยเพียงใด และการโอเวอร์คล็อกก็ไม่ได้หยุดแต่ตัวซีพียูนั้น การ์ดแสดงผลก็ยังสามารถที่จะโอเวอร์คล็อกขึ้นไปได้อีกด้วย

PC คีย์บอร์ด ASUS Eee Keyboard





หลังจาก ASUS ปล่อยข่าวของ Eee Keyboard มาได้ซักพักงานงาน CES ที่ผ่านมา ก็ถึงเวลาแล้วที่ ASUS จะส่งตัวเป็นๆให้ได้ชมกันในงาน CeBIT นี้ใครนึกไม่ออกว่ามันคืออะไรก็ลองนึกถึง Eee PC ที่ถูกใสอุปกรณ์ทั้งหมดลงในคีย์บอร์ดใหญ่ๆสักอันหนึ่ง และเปลี่ยนจอภาพมาอยู่ด้านข้าง โดยเป็นจอภาพขนาด 5 นิ้ว ที่ความละเอียด 800 x 480 ซึ่งสามารถใช้งานเป็น touchpad ได้ด้วยนะครับ ส่วนสเปกอื่นๆนั้นก็แทบไม่ต่างจาก Eee PC เครื่องหนึ่งเลย เริ่มด้วยซีพียู Atom N270 ฮาร์ดดิสค์ 16GB แบบ SSD,แรม 1GB, WiFi และ Bluetooth , VGA / HDMI ouputs , USB 2.0

ประวิติของคอมพิวเตอร์(2)

ในปี ค.ศ. 1974 Intel ผลิต 8080 เป็น microprocessor แบบ 8 บิทออกจำหน่าย ประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ ประมาณ 6,000 ตัว ใช้สัญญาณนาฬิกาที่ความถี่ 2 MHz Ed Roberts เจ้าของบริษัท Micro Instrumentation Telemetry systems ได้จัดชุดคิท (ผู้ซื้อประกอบเอง) เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ 8080 และลงโฆษณาในวารสาร Popular Electronic โดยมีราคา $397 ใช้ชื่อว่า Altair มีการสั่งซื้อเป็นหลายพันเครื่อง ทั้งที่เครื่องต้องโปรแกรม ด้วย สวิตช์ และแสดงผลทาง LED เท่านั้น ถือเป็น ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกๆ

Paul Allen กับ William Gates III ร่วมกันเขียนโปรแกรม Basic interpreter ให้กับเครื่อง Altair ทำให้เครื่อง Altair สามารถเขียนโปรแกรมในภาษา Basicได้ ทั้งคู่ก่อตั้งบริษัท Microsoft ในปี ค.ศ. 1975 และขายโปรแกรมให้กับบริษัทอื่นด้วย เช่นบริษัท Tandy ซึ่งผลิตเครื่อง Radio Shack TRS-80 และบริษัท Commodore ซึ่งผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกสู่ท้องตลาดต่อมา

ในปี ค.ศ. 1975 IBM 5100 ได้ออกสู่ท้องตลาด เป็นเครื่อง PC รุ่นแรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจาก มีราคาระหว่าง $8,975- $19,975 สามารถโปรแกรมได้โดยภาษา APL และ Basic

ในปี ค.ศ. 1976 บริษัท Shugart Associates ได้ผลิต เครื่องอ่านเขียน floppy disk ขนาด 5.25 นิ้ว รุ่น SA-400 มีความจุ 110 Kbyte ซึ่งกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน สำหรับเครื่อง PC จนกระทั่งถูกแทนที่ด้วย floppy ขนาด 3.5 นิ้ว บริษัท Shugart Associates ได้ร่วมมือกับ บริษัท Dysan Corporation ให้ผลิตแผ่น floppy disk 5.25 นิ้วจำหน่าย

ในปี ค.ศ. 1977 เริ่มมี Microcomputer ที่มีแป้นพิมพ์ และ จอภาพ ออกสู่ท้องตลาด โดยบริษัท Tandy ผลิตเครื่อง Radio Shack TRS 80 ราคา $599.9 ใช้ CPU Z80 มี RAM ขนาด 4Kbyte พร้อม ภาษา BASIC ออกขาย 1 เดือนแรกมียอดขายกว่า 10,000 เครื่อง

เครื่อง Commodore Pet ใช้ CPU เบอร์ 6502 มี RAM ขนาด 4K หรือ 8 K พร้อมเทป (สำหรับเก็บโปรแกรมและข้อมูล) และ ภาษา BASIC ราคา $700



Stephen G Wozniak กับ Steven Job ได้ทดลองดัดแปลงเครื่อง Altair แต่ภายหลังเลือก Microprocessor 6502 จากบริษัท MOS Technology ซึ่งมีราคาถูกกว่า และได้สร้าง Apple I ปรับปรุงเป็น Apple II ตั้งบริษัท Apple และจัดจำหน่ายเครื่อง Apple II เครื่อง ประกอบด้วย คีย์บอด จอภาพ มีหน่วยความจำ 16K ROM และ 4K RAM ใช้ภาษา Basic ได้ (พัฒนาเอง แต่ภายหลัง ซื้อจาก Microsoft) ขายในราคา $1,300-$2600 (ขึ้นกับขนาดหน่วยความจำ) ในปี ค.ศ. 1977 มียอดขาย $700,000 ปีต่อมามียอดขายกว่า 7 ล้านเหรียญ ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่ได้รับความสำเร็จทางการตลาด

Gary Kildall ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ CP/M และสร้าง floppy disk controller ให้ใช้กับ floppy disk drive และได้ขาย license ให้กับบริษัท IMSAI ในปี ค.ศ. 1977 บริษัทอื่นๆ ทำตาม ทำให้ CP/M เป็นมาตรฐานสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ 8080 หรือ Z80 เป็น CPU จนกระทั่งยุคของ IBM PC และทำให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เริ่มใช้ floppy disk drive กันมากขึ้น

ในปี ค.ศ. 1978 บริษัท Microsoft มียอดขายกว่า 1 ล้านเหรียญ บริษัท Intel ได้ผลิต 8086-8088 Microprocessor ออกสู่ตลาด เป็น microprocessor ขนาด 16 บิท บริษัท Apple ได้ผลิต floppy disk controller ทำให้เครื่อง Apple สามารถใช้ได้กับเครื่องอ่านเขียน floppy diskได้ และได้สร้าง DOS (Disk operating system) เพื่อให้สามารถใช้งาน floppy disk ได้ Apple ขาย controller card พร้อม floppy drive และ Apple DOS 3.1 ในราคา $595 โดย floppy drive ซื้อจากบริษัท Shugart Associates ต่อมาส่งให้บริษัทในญี่ปุ่นผลิตเพื่อลดต้นทุน

VisiCalc ในช่วงเวลาปี ค.ศ. 1979 เริ่มได้มีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปออกขาย เช่น VisiCalc เป็นโปรแกรม spreadsheet ที่ใช้กับ Apple DOS โดย Don Bricklin และ Bob Franston เป็นโปรแกรมที่ทำให้ยอดของของ Apple สูงขึ้นมาก ในขณะเดียวกัน บริษัท MicroPro ได้ผลิตโปรแกรม Word Processing ชื่อ WordStar ออกจำหน่าย โดยทำงานบน CP/M

ในปี ค.ศ. 1980 Microsoft ผลิต Softcard ซึ่งเป็น card ที่มี Z80 CPU ใช้ต่อในเครื่อง Apple ซึ่งใช้ 6502 CPU แล้วทำให้เครื่องไปใช้งาน Z80 CPU ใน card ทำให้เครื่อง apple สามารถ ทำงานกับระบบปฎิบัติการ CP/M ได้ Microsoft ผลิต card ขายพร้อมกับ CP/M และทำให้ Microsoft สามารถ ขาย Microsoft FORTRAN และ COBOL compiler สำหรับผู้ที่ใช้ Apple ได้

บริษัท Seagate Technology ก่อตั้งโดย Alan Shugart (ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับผู้ก่อตั้งบริษัท Shugart Associates ที่ผลิต floppy disk drive แต่ถูกให้ออก) ในปี ค.ศ. 1979 ผลิต Hard disk ขนาด 5.25 นิ้ว เท่ากับ floppy disk drive ออกจำหน่าย รุ่นแรก ST 506 มีความจุ 5 Mbyte ในปี ค.ศ. 1980 บริษัทขายได้เป็นพันเครื่องให้กับ IBM ใช้กับเครื่องเมนเฟรม ซึ่งต่อมาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

ในปี ค.ศ. 1980 บริษัท IBM เห็นว่า ตลาดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นตลาดใหญ่ จึงสร้างเครื่อง IBM PC ออกขาย ในปีค.ศ. 1981 ทำให้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในทางธุรกิจมากขึ้น IBM ได้ซื้อระบบปฏิบัตการ MSDOS และ ภาษา Basic จาก Microsoft เครื่อง IBM PC ใช้ Intel 8088 microprocessor เป็น microprocessor ขนาด 16 บิท หน่วยความจำ 64Kbyte floppy disk drive ขนาด160K ราคาเริ่มต้นที่ $1,565 – $2,880 IBM ขายได้ กว่า 13,500 เครื่อง ใน 4 เดือนแรก และต้องมีการจอง เนื่องจาก IBM ผลิตไม่ทัน

Sony created the 3.5 inch micro floppy disk (foreground) and the disk drive (back) from scratch. ในปีค.ศ.1981 บริษัท Sony ผลิต floppy drive ขนาด 3.5 นิ้ว และ diskette และกลายเป็น มาตรฐานของ floppy drive ในเครื่อง PC จนถึงปัจจุบัน diskette มีความจุ 720Kbye และ 1.44 Mbyte

Osbone I ออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 1981 เป็นเครื่อง Portable เครื่องแรก หนัก 23.5 ปอนด์ (กว่า 10 กิโลกรัม) ใช้ Z80A CPU (8 บิท) มีจอภาพขนาด 8.75 x 6.6 ซ.ม. floppy disk 2 ตัว ใช้ CP/M ราคา $1,795 บริษัทมียอดขาย ถึง $100 ล้าน ใน 2 ปี บริษัทล้มละลายในปี 1983 (เนื่องจาก IBM PC และ Compaq)

ในปี ค.ศ. 1982 บริษัท Intel เริ่มผลิต 80286 microprocessor ในช่วงเวลา 6 ปีของการผลิต มีเครื่อง PC ประมาณ 15 ล้านเครื่อง ที่ใช้ CPU ตัวนี้ทั่วโลก โดย 80286 สามารถทำงานกับโปรแกรมที่เขียนให้กับ 8088 ได้

ในปี ค.ศ. 1982 เนื่องจาก IBM PC ขายดี และเป็นที่ยอมรับของตลาด และ IBM สร้าง PC จากอุปกรณ์ที่มีขายอยู่ทั่วไปในขณะนั้น ทำให้เกิด การสร้าง IBM PC “clone” บริษัท Columbia Data Products ผลิต IBM PC clone รุ่นแรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก บริษัท Compaq สร้าง IBM PC clone ตามมา อย่างไรก็ตาม IBM มี copy right ใน BIOS ซึ่งถ้าคัดลอก IBM สามารถฟ้องร้องได้ (ซึ่งมีหลายบริษัททำและถูก IBM ฟ้อง) แต่ถ้าจะให้ทำงานเหมือน IBM ต้องมี BIOS เหมือนกัน บริษัท Compaq ลงทุนกว่า ล้านเหรียญ ทำการ Reverse-engineer โดยจ้างโปรแกรมเมอร์ สองกลุ่ม กลุ่มแรก เคยได้ยินเกี่ยวกับ IBM BIOS ให้ดู code ของ IBM แล้วเขียนคุณลักษณะการทำงาน (specification) กลุ่มที่สอง ที่ไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับ IBM BIOS ให้เขียนโปรแกรมตาม คุณลักษณะการทำงาน จากกลุ่มที่หนึ่ง บริษัท Compaq ได้ BIOS ที่ทำงานเหมือน IBM BIOS โดยไม่ผิดกฎหมาย copyright จากนั้น บริษัท ผลิตคอมพิวเตอร์ Compaq Portable ที่ 100 % compatible กับ IBM PC ในราคา $3,590 ขายได้ 53,000 เครื่องและมียอดขาย $111 ล้านเหรียญในปีแรก ในปี ค.ศ. 1984 บริษัท Phoenix Software Associate ใช้วิธีเดียวกันกับบริษัท Compaq แต่ Phoenix ไม่ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์เอง บริษัทขาย BIOS ให้กับบริษัทอื่นๆ เพื่อผลิต IBM PC clone ทำให้มีเครื่องที่ทำงานได้เหมือน IBM PC ใช้ ซอฟแวร์ร่วมกันได้ แต่มีราคาถูกกว่า IBM PC ออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก

ในปี ค.ศ. 1982 บริษัท Hewlett-Packard ซึ่งขณะนั้นผลิตเครื่องคิดเลข ได้ผลิต เครื่องคิดเลข รุ่น HP-75C โปรแกรมได้ ด้วยภาษา BASIC ถือได้ว่าเป็น handheld portable computer เครื่องแรก มี นาฬิกา พร้อม appointment alarm

ในปี ค.ศ. 1983 บริษัท Apple ได้ผลิต Apple Lisa ออกจำหน่าย เป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกที่ใช้ Graphical User Interface ราคา $9,995 ใช้ CPU 68000 ของ Motorola โดย Apple ได้รูปแบบ GUI มาจาก Xerox Palo Alto Research Center ไม่ประสบความสำเร็จในการตลาด ยกเลิกการผลิตในสองปีถัดมา

ในปี ค.ศ. 1984 Apple ได้ออกคอมพิวเตอร์ รุ่น Macintosh ใช้ CPU ตัวเดียวกันกับ Lisa ราคาถูกกว่า $2,495 (128KRAM) จอภาพ 9 นิ้ว ขาวดำ 9 เดือนต่อมา ผลิตรุ่น 512KRAM ในราคา $3,195 เครื่อง Apple เป็นเครื่องที่จดลิกสิทธ์ ในเรื่องของ hardware ไว้ ทำให้ไม่มี Apple clone และเครื่อง Macintosh รุ่นแรกๆไม่เหมาะกับการใช้งานทางธุรกิจ ทำให้ไม่สามารถทำตลาดได้มากเท่า IBM PC ต่อมา Apple มุ่งไปที่ตลาด Desktop Publishing และ ผลิต Apple Laser Printer ออกจำหน่าย พร้อม เสนอ โปรแกรม PageMaker บริษัท Microsoft เขียนโปรแกรมให้ Macintosh คือ Microsoft Word 1.0 และ Microsoft Excel 1.0 ในปี ค.ศ. 1985 บริษัท Apple เริ่มมีปัญหาภายใน บริษัทได้จ้างผู้จัดการจากภายนอกเข้าบริหารงาน Steve Wozniak และ Steve Job ผู้ก่อตั้งบริษัท ลาออกในปีนั้น

ในปี ค.ศ. 1983 บริษัท Sony และ Philips เปิดตัว CD-ROM บริษัทผลิตซอฟแวร์ ได้ตกลงมาตราฐานการจัดเก็บข้อมูลใน แผ่น CD ในปี ค.ศ. 1985 และเป็น มาตรฐาน ISO9660 ในที่สุด ทำให้สามารถใช้ CD ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท แผ่น CD มีความจุ 650 Mbyte หรือสามารถบันทึกเพลงได้ 74 นาที (ในรูปแบบ digital) ต่อมาภายหลังจากเครื่องเล่น CD ราคาถูกลง CD-ROM จึงเป็นที่นิยมใช้ในเครื่อง PC

ในปีเดียวกัน IBM เปิดตัว IBM XT ใช้ Intel 8080 CPU 128KRAM 360 Kfloppy disk drive และ Hardisk 10 Mbyte ในราคา $4,995 บริษัท Kyocera (Kyoto Ceramics) (ญี่ปุ่น) ได้ออกแบบคอมพิวเตอร์ ที่เรียกได้ว่าเป็น labtop เครื่องแรก บริษัท Tandy, NEC, และ Olivetti ได้ซื้อลิกสิทธิ์แบบ ไปผลิตเครื่องจำหน่าย โดยเครื่องใช้ถ่าน “AA” สี่ก้อน มีแป้นพิมพ์ขนาดมาตรฐาน ไม่มี floppy disk หน่วยความจำมีแบบตารี backup มีโปรแกรมพร้อมอยู่ภายในเครื่อง ประกอบด้วย Microsoft BASIC, โปรแกรม Text editor และ โปรแกรมสื่อสารข้อมูล

ในปี ค.ศ. 1984 IBM เปิดตัว IBM AT ใช้ Intel 80286 512KRAM 1.2 Mbyte floppy disk drive 20 Mbyte Hard disk ในราคา $5,795

คาดการว่าในปี ค.ศ. 1984 เครื่องคอมพิวเตอร์ขายได้กว่า 5 ล้านเครื่องเฉพาะในสหรัฐ Microsoft มีรายได้กว่า 97 ล้านเหรียญจากการขาย BASIC, Mutiplan (spreadsheet ของ Microsoft) และ MS-DOS เป็นส่วนใหญ่

ในปี ค.ศ. 1985 บริษัท Intel ผลิต Intel386™ Microprocessor (80386) ออกจำหน่าย ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ กว่า 275,000 ตัว มากกว่า 100 เท่าของ 4004 เป็น microprocessor แบบ 32 บิท และสามารถทำงานแบบ "multi tasking" ได้

ในปี ค.ศ. 1986 บริษัท Compaq ได้เปิดตัวคอมพิวเตอร์ Compaq Deskpro 386 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ Intel 80386 ก่อนหน้า IBM จะผลิตเครื่องที่ใช้ CPU 80386

ในปี ค.ศ. 1987 IBM เปิดตัว IBM PS/2 รุ่นต่างๆ ราคาจาก $1,395 – $6,995 ใช้ CPU Intel 8080, 80286 และ 80386 แล้วแต่รุ่น ทั้งนี้ โครงสร้างภายของ PS/2 ไม่เปิดเผย และจดลิกสิทธ์ ทั้งนี้เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดคืนจาก IBM clone และ IBM เปิดตัว OS/2 version 1.0 ปลายปี ซึ่งยังเป็น Text mode ปีถัดมา version 1.1 พร้อมกับโปรแกรม Presentation Manager ซึ่งเป็น GUI ในปี ค.ศ. 1987 ส่วนแบ่งการตลาดของ IBM ในตลาด PC ลดลงจาก 44% เหลือ 39% ขณะที่บริษัท Compaq มีส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มขึ้น จาก 16% เป็น 23% ในช่วงทศวรรษต่อมา IBM ไม่ได้เป็นผู้ชี้นำตลาดของ PC คอมพิวเตอร์อีกเลย

ในปี ค.ศ. 1989 Tim Berners-Lee เสนอโครงการสร้าง World Wide Web กับ CERN (European Council for Nuclear Research) ได้รับอนุมัติ และ สร้างต้นแบบในปี ค.ศ. 1990 โดยสร้างมาตรฐาน URLs, HTML, and HTTP

NEC Ultralite ในปี ค.ศ. 1989 บริษัท NEC ได้เปิดตัว NEC UltraLite เป็น notebook คอมพิวเตอร์เครื่องแรก ซึ่งเป็นรูปแบบให้เครื่อง notebook ในสมัยต่อมา เป็นเครื่องที่ไม่มี harddisk ใช้ ROM card สำหรับใส่โปรแกรม มีที่ต่อกับ floppy disk drive ได้

โครงการ ARPANET สิ้นสุดโครงการในปี ค.ศ. 1990 NSFnet/Internet เข้ามาทดแทน โดยต่อมหาวิทยาลัยต่างเข้าด้วยกัน ในปี ค.ศ. 1991 สหรัฐได้อนุญาตให้ใช้ Internet ในการทำการค้าได้

Thinkpad หลังจากที่ล้าช้าในการสร้าง และไม่ประสบความสำเร็จใน Window 1.0 และ Window 2.0 บริษัท Microsoft เปิดตัว Windows 3.0 ออกสู่ท้องตลาดในปี ค.ศ. 1990 ผลิตภัณฑ์ Window ของ Microsoft ทำให้เครื่องที่ใช้ CPU ของ Intel มีระบบปฏิบัติการที่เป็น GUI

ในปี ค.ศ. 1992 IBM เปิดตัว ThinkPad 700C เครื่อง Notebook ใช้ 25 MHz Intel 486 processor 4MB RAM และ 80MB hard drive เป็น notebook ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวลานั้น

ในปี ค.ศ. 1992 Microsoft ส่ง Microsoft Window 3.1 ซึ่งมีปรับปรุง Window 3.0 กว่า 1,000 รายการ มีการสั่งซื้อล่วงหน้ากว่า ล้านชุด ทั่วโลก IBM เปิดตัว OS/2 version 2.0 ตามมา ไม่ประสบความสำเร็จในการขาย

ในปี ค.ศ. 1993 Apple เปิดตัว Newton เป็น personal digital assistant รุ่นแรกที่ได้รับความนิยม ใช้การเขียนบนหน้าจอ ในปีเดียวกัน นักศึกษาที่ University of Illinois’ National Center for Supercomputing Applications สร้าง NCSA Mosaic เป็น GUI Web browser บน Window และพัฒนาให้ทำงานได้กับ Macintosh และ X-Window บน Unix ทำให้ WWW เป็นที่นิยม ภายหลังผู้พัฒนา ตั้งบริษัท Netscape

Usage share of Netscape Navigator over time ในปี ค.ศ. 1995 Microsoft เปิดตัว Windows 95 และมี Internet Explore ซึ่งเป็น Web browser อยู่ด้วย ในปี ค.ศ. 1996 บริษัท Netscape ฟ้องร้องต่อศาล ในกรณีที่ Microsoft ควบรวม ระบบปฏิบัติการ และ Internet Explore เข้าด้วยกันในปี ค.ศ. 1997 มีผู้ใช้ Netscape Web browser กว่า 75% ในขณะที่ใช้ Internet Explore เพียง 18% Microsoft เปิดตัว IE4 ในปีนั้น ในปี ค.ศ. 1999 บริษัท Netscape ถูกซื้อโดย AOL ในปี ค.ศ. 2003 Microsoft จ่าย 750 ล้านเหรียญ เพื่อยุติการฟ้องร้อง ในปี ค.ศ. 2004 มีผู้ใช้ IE กว่า 95% ตัวโปรแกรมสำหรับ Web browser เผยแพร่เป็น Open source ในชื่อของ Mozilla ซึ่งในปีปัจจุบัน ได้มีการนำโปรแกรมไปปรับปรุง และ สร้าง Web browser อื่นเช่น Firefox

photo of PalmPilot organizer ในปี 1994 Jeff Hawkin ออกแบบ และ สร้าง PalmPilot organizer และตั้งบริษัท Palm Computing บริษัทถูกซื้อโดย บริษัท US Robotic ในปีถัดมา PalmPilot ได้ปรับปรุงเป็นรุ่น PalmPilot 1000 ในปี 1996 มียอดขายกว่า 350,000 เครื่องในปีแรกที่ออกขาย ปีถัดมาบริษัท 3Com ซื้อบริษัท US Robotic และได้ บริษัท Palm Computing ด้วย Jaff Hawkin ลาออก แล้วตั้งบริษัทใหม่ ผลิตเครื่อง HandSpring Visor และใช้ Palm OS ในปี 1999 บริษัท Palm Computing ควบรวมกับบริษัท HandSpring เป็น บริษัท Palm One ในปี 2003 Palm เป็น PDA ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

ข้อมูลจาก Computer Industry Almanac ในปี ค.ศ. 2004 มี PC ใช้กันอยู่ทั่วโลก กว่า 820 ล้านเครื่อง โดย 24% เป็นเครื่อง Notebook และมีผู้ใช้ Internet กว่า 935 ล้านคน ข้อมูลจากปี 2003 ประมาณยอดขายของ PDA กว่า 18 ล้านเครื่อง แต่ยอดขายของ PDA เริ่มลดลงโดยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจาก PDA-Phone และ Smart Phone จาก 10% ในปี 2002 เพิ่มเป็น 20% ในปี 2003

ในปัจจุบัน เทคโลโนยี่คอมพิวเตอร์ ยังคงพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง มีการสร้าง เครื่องในรูปแบบTablet PC มีการใช้เครื่อง PDA อย่างแพร่หลาย ได้มีการพัฒนา Smart Phone โดยเป็นการรวม โทรศัพท์มือถือ และ PDA เข้าด้วยกัน มีการสร้างระบบ Embedded system เป็นการเพิ่มความสามารถในการประมวลผลให้กับอุปกรณ์หลากหลายประเภท เช่น ในรถยนต์

ประวิติของคอมพิวเตอร์(1)

ในยุคเริ่มต้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เทคโลโนยี่ทางไฟฟ้า เริ่มพัฒนามาพอสมควร มีระบบโทรศัพท์ เกิดขึ้นราว ปี ค.ศ. 1876 รีเลย์ สร้างในปี ค.ศ. 1888 หลอดสูญญากาศใช้เป็นอุปกรณ์ขยายสัญญาณในปี ค.ศ. 1907 Eccles and Jordan สร้าง วงจร flip-flop electronic switching ซึ่งเป็นวงจรพื้นฐานในสร้างวงจรนับในปี ค.ศ. 1919 เครื่องโทรทัศน์ ในปี ค.ศ. 1927

ในปี ค.ศ. 1887 Herman Hollerith ได้พัฒนาเครื่องเจาะบัตร และ เครื่อง card tabulating สร้างเครื่อง และ ให้ US Census Bureau เช่าเครื่อง ใช้ในการช่วยทำสำมะโนประชากร ของอเมริกา โดยข้อมูลของแต่ละคน อยู่ในรูปบัตรเจาะรู และเครื่อง card tabulating สามารถ อ่านบัตร นับจำนวนได้ ทำให้การนับสำมะโนประชากร เช่นนับว่ามีกี่คน ผู้ชายกี่คน ผู้หญิงกี่คน ทำได้เร็วขึ้นกว่าการนับด้วยมือ ซึ่งเครื่องเจาะบัตร และ เครื่องอ่านบัตร เป็น อุปกรณ์การป้อนข้อมูลและโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์ในช่วงเวลาต่อมา เครื่อง card tabulating ถือได้ว่าเป็นเครื่องจักรที่ประมวลผลข้อมูลรุ่นแรกที่มีการใช้งานจริง ต่อ Herman Hollerith ได้ตั้งบริษัท และขยายธุรกิจ ให้เช่าเครื่อง ขายเครื่อง และขายบัตรให้กับธุรกิจหลายประเภท เช่น ธุรกิจการรถไฟ ต่อมาบริษัทมีการเปลี่ยนผู้บริหาร ขยายตัว และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท IBM ในปี ค.ศ. 1924

ในปี ค.ศ. 1937 Alan Turing ได้ลงพิมพ์บทความ “On Computable Numbers with an Application to the Entscheidungsproblem.” ในบทความได้บรรยายถึง Turing Machine เครื่องจักรในอุดมคติ ซึ่ง สามารถคำนวณทางตัวเลขได้ โดยชี้ให้เป็นว่า การคำนวณส่วนใหญ่ สามารถสร้าง Turing Machine ที่ให้ผลการคำนวณนั้นขึ้นได้ จากนั้น Turing ได้อธิบายถึง Universal Turing Machine เป็น Turing Machine เครื่องหนึ่ง ซึ่งสามารถคำนวนได้อย่างอเนกประสงค์ กล่าวคือ จำลองการทำงานให้เหมือน Turing Machine ที่คำนวณเฉพาะงานอื่นๆ ได้โดยอาศัยโปรแกรม Turing พิสูจน์ให้เห็นว่า Universal Turing Machine สามารถสร้างขึ้นได้ โดยโครงสร้างเหมือนกับ Turing Machine สามารถโปรแกรมให้จำลองการทำงานได้ไม่จำกัด และชี้ให้เห็นว่า มีการคำนวณบางประเภท ที่ไม่สามารถ จะเขียนเป็นโปรแกรมได้ Universal Turing Machine ถือเป็น ต้นความคิดของ เครื่องคอมพิวเตอร์

ในปีเดียวกัน Claude Shannon เขียนวิทยานิพนธ์เรื่องA Symbolic Analysis of Relay and Switching Circuits อธิบายการใช้สวิทช์ ในการคำนวณ Boolean algebra และต่อมา George Stibitz ได้สร้างวงจรรีเลย์ ที่สามารถทำงานบวกเลขฐาน 2 ได้

ในปี ค.ศ. 1939 Stibitz และ S.B. Williams สร้างเครื่อง Complex Number Calculator เป็นเครื่องคำนวนโดยใช้ไฟฟ้า ระบบเลขฐาน 2 เครื่องแรก ส่วนของการคำนวณประกอบด้วย รีเลย์โทรศัพธ์ 450 ตัว และ crossbar switches 10 ตัว สามารถหาค่า quotient ของตัวเลข complex number แปดหลัก สองตัว ในเวลา 30 วินาที

ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ. 1939-1945 เครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกพัฒนาขึ้นจากความต้องการการคำนวณจำนวนมาก เช่น การถอดรหัสลับ การสร้างตารางวิถีลูกกระสุนปืนใหญ่ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทางการทหาร

ในเยอรมัน มีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ Z1-Z4 โดย Konrad Zuseในช่วงเวลา ปี ค.ศ. 1941 – 1944 ถือได้ว่า เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกๆ ของโลก เครื่อง Z1 เป็นเครื่องจักรกล เครื่อง Z2 เป็นระบบจักรกล ผสมกับ รีเลย์ เครื่อง Z3 เป็นระบบ รีเลย์ทั้งหมด มีหน่วยคำนวณ หน่วยความจำ และหน่วยควบคุม ตัวเครื่อง Z3 ถูกทำลายจากระเบิดในสงคราม ถูกสร้างขึ้นใหม่ในทศวรรษ 1960 ส่วนเครื่อง Z4 สร้างในปี ค.ศ. 1943 รอดพ้นจากสงคราม และขายให้ ธนาคารในประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ แต่ทั้งนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ชุดนี้ไม่มีผลต่อการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในอังกฤษและอเมริกา

ในอเมริกา John Vincent Atanasoff ได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ และสร้างเครื่องต้นแบบ ใน ราวปี ค.ศ. 1937-1942 ใช้การคำนวณแบบเลขฐานสอง สามารถ บวก ลบเลข โดยใช้หลอดสูญญากาศ มีหน่วยความจำ แต่เครื่องทั้งหมดไม่สมบูรณ์ โครงการสิ้นสุดก่อนจะใช้งานได้ เนื่องจากเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2

ในราวปี ค.ศ. 1943 อังกฤษ ได้ สร้างเครื่องคำนวณอิเลคโทรนิค COLOSSUS เพื่อถอดรหัส ข้อความ ที่เข้ารหัสโดยเครื่อง ENIGMA ของเยอรมันซึ่งใช้ส่งข้อความลับในช่วงสงคราม COLOSSUS ทำงานคำนวณจำกัด เฉพาะด้านการถอดรหัส อย่างไรก็ตาม COLOSSUS สามารถโปรแกรมให้ทำงานกับโปรแกรมย่อยต่างๆได้ COLOSSUS ประกอบด้วยหลอดสุญญากาศกว่า 1,800 หลอด COLOSSUS เป็นความลับทางการทหารที่เปิดเผยในรับทราบในปี ค.ศ. 1970 วิธีการคำนวณการถอดรหัสยังคงเป็นความลับอยู่

ในราวปี ค.ศ. 1937-1944 Howard H. Aiken กับวิศวกรจาก IBM ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM automatic sequence controlled calculator หรือเรียกกันว่า Harvard MARK I ใช้ รีเลย์ สวิตช์ เป็นส่วนประกอบหลัก มีชุดควบคุมการคำนวณหลักโดยอ่านโปรแกมจากเทปเจาะรู และ ข้อมูลนำเข้าโดยบัตรเจาะรูอีกทางหนึ่ง สามารถ บวก ลบ คูณ และ หาร เลข ได้ ผลลัพธ์ พิมพ์เป็นบัตรเจาะรู หรือพิมพ์ออกกระดาษ โดยเครื่องพิมพ์ ทหารเรือได้ใช้เครื่องนี้คำนวณ สร้างตารางตัวเลข ในช่วงสงครามโลก

โครงการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ ENIACโดย John Mauchly และ J. Presper Eckert, Jr. ที่Moore School of Electrical Engineering, University of Pennsylvania ใน Philadelphia ได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1943 สร้างเสร็จใน ปี ค.ศ. 1945 ถือเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เป็นอิเลคโทรนิคทั้งหมดเครื่องแรก เครื่องออกแบบ เป็นโมดูล การโปรแกรมเครื่องให้ทำงานตามต้องการ โดยการโยงสายไฟ ต่อโมดูลต่างๆ เข้าด้วยกัน เครื่อง ENIAC ใช้หลอดสุญญากาศกว่า 18,000 หลอดในการคำนวณตัวเลข เครื่องสูง 10 ฟุต กินเนื้อที่กว่า 1,000 ตารางฟุต หนักรวม 30 ตัน ใช้ไฟกว่า 150 กิโลวัตต์ โดยเครื่อง สามารถทำการคำนวณได้ 300 ครั้งต่อวินาที ราคารวม $486,800 ENIAC ได้นำไปใช้งานที่ U.S. Army Ballistics Research Laboratory, Aberdeen Proving Grounds, Maryland จนถึงปี ค.ศ. 1955

EDVAC พัฒนาต่อจาก ENIAC โดยมีหน่วยความจำสำหรับชุดคำสั่งเป็นอุปกรณ์อิเลคโทรนิค โดยใช้ Mercury (acoustic) delay lines โปรแกรมจะส่งเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำ และการทำงานของเครื่อง เป็นไปตามชุดคำสั่งนั้นๆ สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1952

[ The first transistor ] ในปี ค.ศ. 1947 Bell Lab โดย J. Bardeen, H.W. Brattain, และ W. Shockley ได้สร้าง ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ต้นแบบได้ และได้เริ่มมีการผลิตในต้นทศวรรษ 1950 ทรานซิสเตอร์ สามารถใช้เป็น สวิตช์ และ ขยายสัญญาณ ได้เช่นเดียวกับหลอดสูญญากาศ มีข้อดีมากกว่ามาก เช่น ใช้พลังงานน้อยกว่า ขนาดเล็กกว่า และมีความเชื่อถือได้สูงกว่า ทำให้ ทรานซิสเตอร์ มาแทนที่หลอดสูญญากาศในเกือบทุกด้าน รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

ในปี ค.ศ. 1951 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานทั่วไป ที่ไม่ได้ใช้เพื่อการทหารได้ออกจำหน่าย ในรูปแบบของการจ้างสร้างเครื่อง โดยบริษัท Remington Rand มี John Mauchly และ J. Presper Eckert, Jr ผู้สร้าง ENIAC เป็นผู้คุมทีมสร้างเครื่อง UNIVAC I ใช้เทคโลโนยีเดียวกับ EDVAC และได้พัฒนา digital magnetic tape สามารถบวกเลขฐาน 2 สิบหลัก ได้ 100,000 ตัวต่อวินาที ใช้สัญญาณนาฬิกาความถี่ 2.25 เมกะเฮิสซ์ โดยเครื่องแรกส่งมอบให้ Census Bureau ราคาประมาณ $100,000 ในปี 1954 บริษัทได้ผลิต Univac ERA 1103A โดยใช้ ferrite-core memory

ในปี ค.ศ. 1951-1952 Grace Murray Hopper พัฒนาโปรแกรม compiler A-0 เป็น compiler โปรแกรมแรก ที่เปลี่ยน Assembly code ให้เป็น Machine code สำหรับเครื่อง UNIVAC ต่อมาได้พัฒนา compiler ที่เปลี่ยนประโยคภาษาอังกฤษ เป็น Machine code B-0 (FLOW-MATIC) ในปี ค.ศ. 1957 เป็นต้นกำเนิดของ ภาษา COBOL
ในปี ค.ศ. 1952 บริษัท IBM ได้จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ รุ่น 701 เป็นการเปลี่ยนองค์กรของ IBM จากการขายเครื่องเจาะบัตรเป็นการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 701 ใช้ magnetic tape มีหน่วยความจำแบบ magnetic drum และ cathode-ray tube storage

ในปีถัดมา IBM 650 หรือเรียกว่า Magnetic Drum Calculator ถูกผลิตขึ้นและเป็นเครื่องที่มีการจำหน่ายมาก IBM สามารถครองตลาดคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าครึ่งในปี ค.ศ. 1955

มีการพัฒนาโปรแกรม Complier และ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษา FORTRAN เริ่มพัฒนาในปี ค.ศ. 1954 โดย John Backus และคณะใน IBM ส่งมอบให้ใช้งานได้ในราวปี ค.ศ. 1958 FORTRAN ย่อมาจาก FORmula TRANslator เป็นภาษาที่ออกแบบมาเพื่อให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้นกว่าใช้ภาษาเครื่อง โดยเฉพาะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ สูตรทางคณิตศาสตร์สามารถเปลี่ยนเป็น ภาษา FORTRAN ได้โดยง่าย

ในปี ค.ศ. 1954 Texas Instruments ผลิตทรานซิสเตอร์ออกขายสู่ท้องตลาด 7 ปีจากต้นแบบ

ในปี ค.ศ. 1956-57 IBM ได้สร้าง เครื่อง รุ่น IBM 305 RAMAC และ 650 RAMAC โดยมี hard disk และ เทคโลโนยี่ RAMAC (random-access method of accounting and control) Hard disk เป็นรุ่นแรกที่ผลิต โดยเป็น แผ่นขนาด 2 ฟุต จำนวน 50 แผ่นมีความจุ 5 MByte (สำหรับเครื่อง 350)

ในปี ค.ศ. 1956 บริษัท Univac เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ Univac II ใช้ ทรานซิสเตอร์ เป็นส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง (แต่ยังใช้หลอดสุญญากาศจำนวนหนึ่ง ขณะนั้น ทรานซิสเตอร์ ยังมีราคาแพงกว่าหลอด) จัดจำหน่ายในปี ค.ศ. 1958

ในปี ค.ศ. 1958 นั้น Seymour Cray สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัท Control Data Corporation รุ่น CDC 1604 โดยใช้ ทรานซิสเตอร์ ทั้งหมด ใช้ ทรานซิสเตอร์ กว่า 25,000 ตัว ออกจำหน่ายปี ค.ศ.1960 ราคา $750,000



IBM เปิดตัว และ ขาย IBM 1401 ซึ่งใช้ ทรานซิสเตอร์ ทั้งหมดในช่วงเวลาใกล้กันในราคา $14,700 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม เป็นระบบคอมพิวเตอร์แรกที่มียอดขายกว่า 10,000 เครื่องระบบแรก (CDC 1604 มีความสามารถในการคำนวณสูงกว่า IBM 1401)

ในปี ค.ศ. 1958 Integrated Circuit, คือการสร้างวงจรอิเลคโทรนิคบนแผ่นซิลิคอนแผ่นเดียวกัน, ได้ต่างพัฒนาขึ้นพร้อมๆกันโดย Jack Kilby บริษัท Texas Instruments และ Robert Noyce บริษัท Fairchild Semiconductor ทั้งคู่จดลิกขสิทธ์ ในปี 1959 Jack Kilby และ Texas Instruments ได้รับ U.S. patent #3,138,743 สำหรับ miniaturized electronic circuits ส่วน Robert Noyce และ Fairchild Semiconductor Corporation ได้รับ U.S. patent #2,981,877 สำหรับ silicon based integrated circuit บริษัท Texas Instruments ได้เริ่มผลิต และ จัดจำหน่าย IC ในปี 1961

ในปี ค.ศ. 1958 บริษัท Bell ได้พัฒนา modem data phone เป็นอุปกรณ์ส่งข้อมูลฐาน 2 ทางสายโทรศัพท์

ในปีค.ศ. 1959 ภาษา COBOL (Common Business-Oriented Language) ได้พัฒนาขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เพื่อเป็นภาษาคอมพิวเตอร์กลาง สำหรับการเขียนโปรแกรมทางการประมวลผลข้อมูล คณะกรรมการได้ออกแบบ ภาษา COBOL โดยสามารถจัดการข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือได้ดี และ มีลักษณะเป็นประโยคภาษาใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ ทำให้ตัวโปรแกรมสามารถอ่านได้เข้าใจง่าย บริษัทคอมพิวเตอร์ได้นำข้อกำหนด ไปเขียน complier

ในปี 1964 John Kemeney และ Thomas Kurtz เริ่มพัฒนาภาษา BASIC (Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code) ที่ Dartmouth College เพื่อใช้ในการเรียนการสอน เป็นภาษาที่ง่ายไม่ซับซ้อน

IBM System/360 ในปี ค.ศ. 1964 IBM ได้ลงทุนพัฒนากว่า 5 พันล้านเหรียญ สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ ตระกูล SYSTEM 360 ขายออกสู่ตลาดเพื่อใช้ในงานทางธุรกิจ โดยเป็นแนวคิดใหม่ที่ให้ เครื่องตระกูลนี้มีหลายขนาด (มีหน่วยประมวลผล 5 รุ่น จัดได้ 19 รูปแบบ ขึ้นกับขนาดของหน่วยความจำ ความเร็ว ความสามารถในการคำนวณ) โดยจัดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ในราคาที่เหมาะสม ถ้าต้องการความสามารถเพิ่ม ก็เปลี่ยนอุปกรณ์ โดยที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ และโปรแกรมก็สามารถใช้ได้กับทุกรุ่น ระบบนี้ กลายเป็นมาตรฐานของระบบ Mainfram ในช่วงเวลานั้น บริษัทคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้สร้างเครื่องให้ใช้โปรแกรม และ อุปกรณ์ ของ IBM รุ่นนี้ได้

ในปี ค.ศ. 1963 บริษัท Digital Equipment Corporation (DEC) ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ออกสู่ท้องตลาด ในราคาต่ำกว่าและขนาดเล็กกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขายอยู่ในขณะนั้น ซึ่งเรียกว่าเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มจากเครื่อง PDP-5 ในปี ค.ศ. 1965 PDP-8 เป็นเครื่องที่ประสบความสำเร็จในด้านการตลาด มีราคา ประมาณ $16,000 ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มมีใช้งานในระดับหน่วยงานย่อยๆ เช่นห้องทดลองในมหาวิทยาลัย แทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์แบบรวมศูนย์กลาง (Computer Center)

ที่ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย MIT ได้พัฒนา ระบบโปรแกรม เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน เสมือนว่าใช้พร้อมกันได้หลายคน เป็นระบบ Time-Sharing กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ สลับการทำงานให้บริการแก่ผู้ใช้แต่ละคนอย่างรวดเร็ว จนผู้ใช้รู้สึกว่าทำงานอยู่กับเครื่องอย่างต่อเนื่อง ระบบนี้เริ่มในปี ค.ศ. 1961 ในบริการแก่ผู้ใช้ในห้องปฏิบัตการคอมพิวเตอร์ เป็นประจำในปี ค.ศ. 1963 ต่อมาพัฒนาเป็นระบบปฏิบัติการ Multics ในปี ค.ศ. 1969 ซึ่งต่อมาจัดจำหน่ายพร้อมกับระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัท Honeywell Information Systems ในปี ค.ศ. 1973

ในปี ค.ศ. 1966 บริษัท Fairchild ผลิต IC logic gate, a quad two-input NAND gate, แบบ TTL ออกจำหน่าย ซึ่งเป็น IC ที่จะใช้ในคอมพิวเตอร์ต่อมา (8 ปีหลังจากต้นแบบ) ในปี ค.ศ. 1968 บริษัท Burroughs ได้ผลิต คอมพิวเตอร์ รุ่น B2500 และ B3500 เป็น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ IC รุ่นแรก

ปลายปี ค.ศ. 1967 กระทรวงกลาโหม อเมริกา ให้ทุนศึกษาและออกแบบ เรื่องการต่อเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นจุดเริ่มต้นของ ARPANET ซึ่งต่อมากลายเป็น Internet โดยเริ่มมีการต่อใช้จริงในปี ค.ศ. 1969 โดย ต่อระหว่าง มหาวิทยาลัย UCLA, UC Santa Barbara, SRI, และ University of Utah



ในปี ค.ศ. 1969 - 1973 Ken Tompson, Dennis Ritchie และคณะ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Unix พร้อมกับพัฒนาภาษา C โดย Unix เริ่มพัฒนาบนเครื่อง PDP-7 และเขียนโดยภาษา C เนื่องจาก Unixโปรแกรมในภาษาระดับสูง ทำให้ Unix สามารถย้ายไปลงในระบบอื่นได้โดยง่าย Unix จึงเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

ในปี ค.ศ. 1970 E.F. Codd นักวิจัยจากบริษัท IBMได้ตีพิมพ์ผลงาน “A Relational Model of Data for Large Shared Data Banks” เสนอหลักการของ relational database ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบ database ในปัจจุบัน ในปีเดียวกัน บริษัท Intel เริ่มผลิต IC หน่วยความจำ RAM ขนาด 1 Kbyte ออกจำหน่าย

ในปี ค.ศ. 1971 IBM ได้ผลิตเครื่องอ่านเขียน และ “memory disk” หรือ floppy disk ในปัจจุบัน ซึ่งมีผลทำให้การโอนย้ายข้อมูลและโปรแกรมสะดวกขึ้นมาก floppy disk ที่ผลิตขึ้น มีขนาด 8 นิ้ว ความจุ 250KByte ขายพร้อมระบบ 3740 Data Entry System

Microprocessor คือการนำเอาวงจรหน่วยประมวลผลหลักของคอมพิวเตอร์ไปสร้างอยู่บน IC ตัวเดียว ได้เริ่มพัฒนาในราวปี ค.ศ. 1971 โดย Intel ผลิต Microprocessor 4004 เป็น microprocessor แบบ 4 บิท ประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ ประมาณ 2,300 ตัว ในช่วงแรก ผลิตมาเพื่อทำเครื่องคิดเลข

ในปี ค.ศ. 1973 นักวิจัยของ Xerox PARC พัฒนาเครื่องต้นแบบของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดย พัฒนา เมาส์ ระบบเครือข่าย Ethernet และ Graphical User Interface ได้สร้างเครื่องต้นแบบ Alto จัดจำหน่ายไม่มากนักให้สถาบันการศึกษา