วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ซีพียู ค่าย Cyrix

ความจริงแล้วปัจจุบันนี้จะใช้คำว่า Cyrix กับซีพียูเหล่านี้ไม่ได้อีกแล้วเนื่องจากมีการขายกันไปหลายทอด จาก Cyrix ไปเป็น IBM ไป NS (National Semiconductor) และในที่สุดก็ถูกซื้อไปโดยบริษัท VIA แต่คำว่า Cyrix ก็ยังเป็นชื่อที่คุ้นและเปรียบเหมือนเครื่องหมายการค้าอยู่ จึงของเรียกรวม ๆ ว่า Cyrix ไปก่อน ปัจจุบันจากการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง จึงดูเหมือนว่าซีพียูตระกูลนี้จะจบอยู่ที่รุ่นสุดท้ายคือ M II เท่านั้น ส่วนเทคโนโลยีของ Cyrix ได้ถูกนำไปใช้ในชิปรุ่นใหม่ของ VIA แทน


6x86(M I) Cyrix ได้รับความนิยมจากซีพียูรุ่น 6x86 (สังเกตว่าไม่มี MX ต่อท้าย) นี้มากพอสมควรเนื่องจากเป็นทางเลือกที่ถูกมาก ๆ เมื่อเทียบกับ Pentium ที่ใช้ความถี่เท่ากัน โดยรุ่นนี้เป็นการใช้ชื่อรุ่นที่เทียบเคียงกับความเร็วของ Pentium เช่นเดียวกับ AMD โดยมีรุ่น PR133+, PR150+, PR166+ และ PR200+ ให้เลือก เครื่องหมายบวกที่ตามหลังเป็นการพยายามบอกว่าอย่างน้อยเท่ากับ Pentium รุ่นนั้น ๆ หากแต่โดยรวมแล้วเร็วกว่า อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องความเข้ากันได้กับซีพียูของ Intel ทำให้ผู้ใช้ซีพียูตระกูลนี้เลิกรากันไปมากเหมือนกัน

M II และ

6x86MX M II เป็นซีพีรุ่นล่าสุดและรุ่นสุดท้ายของ Cyrix ก่อนที่จะขายกิจการไป ซีพียูรุ่นนี้เริ่มต้นจากยุคแรกที่ใช้ชื่อว่า 6x86MX ซึ่งเป็นความพยายามในการผลิตซีพียูที่เป็นยุคที่ 6 เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เทียบเท่ากันกับทั้ง Pentium MMX และ Pentium II โดยทำงานที่ความถี่ 150 MHz (แต่เทียบกับ Pentium ที่ 166 MHz จึงใช้ชื่อรุ่นเป็น PR หรือ Pentium Rate เช่นเดียวกับ AMD คือ PR166), PR166 (PR200), 187 (PR233) ใน 6x86 และในยุคที่ใช้ชื่อ M II เพื่อให้เกิดความแตกต่างโดยทำงานที่ความถี่ 250, 285 และ 300 แต่โดยความจริงแล้วก็คือ 6x86MX ที่ทำงานบนบัสที่เร็วขึ้น จากเดิมที่สูงสุดคือ 75 MHz ไปเป็น 95 MHz และ 100 MHz ซึ่งแม้จะมีราคาที่ถูกแล้วแต่ก็ยังสายเกินกว่าที่จะได้รับความนิยม รวมทั้งปัญหาในเรื่องความไม่เข้ากันกับซีพียูของ Intel อย่างเต็มที่อีกด้วย