วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ซีพียู ค่าย Intel pentium
ซีพียูของ Intel ที่จะกล่าวนี้อยู่ในตระกูล P5 และ P6 ทั้งสิ้น คือโครงสร้างการทำงานพื้นฐานเหมือนกัน เพียงแต่มีส่วนประกอบหรือส่วนเพิ่มเติมบางอย่างที่แตกต่างกัน ดังนี้
Pentium จุดเริ่มต้นของ P5 ใช้แคชระดับสองบนเมนบอร์ดขนาด 256 KB ใช้เสียบกับ socket 4 และ socket 5 และใช้บัส 60 และ 66 MHz โดยมีความเร็วตั้งแต่ 60 จนถึง 200 MHz

Pentium MMX คือ Pentium ที่เพิ่มชุดคำสั่ง MMX ใช้เสียบกับ socket 5 และ socket 7 และใช้บัสความเร็ว 66 MHz โดยมีความเร็วตั้งแต่ 166 จนถึง 233 MHz

Pentium Pro จุดเริ่มต้นของ P6 มีแคชระดับสองอยู่ในตัวขนาด 256 ถึง 512 KB ใช้เสียบกับ socket 8 และทำงานที่บัสความเร็ว 60 และ 66 MHz ในรุ่น 150, 166,180 และ 200 MHz

Pentium II คือ Pentium Pro ที่เพิ่มชุดคำสั่ง MMX พร้อมแคชระดับ 2 ขนาด 512 KB แต่ทำงานที่ความเร็วเพียงครึ่งเดียวของซีพียู โดยอยู่บนแผง (ตลับหรือ Catridge) เดียวกัน แต่ไม่อยู่บนชิปซีพียู บรรจุในคาร์ทริดจ์ที่เรียกว่า SECC และเสียบลงใน Slot 1 มีรุ่นย่อยสองรุ่นคือ Klamath ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 0.35 ไมครอน ใช้บัน 66MHz กับ Deschutes ที่ใช้เทคโนโลยี 0.25 ไมครอน ใช้บัน 100 MHz

Celeron เกิดขึ้น เพราะ Intel ต้องการที่จะครองตลาดระดับล่าง หลังจากที่พลาดท่าเสียทีให้กับ AMD ไปแล้ว และ ทำให้เกิดบริษัทอื่นๆ ที่เริ่มตั้งตัวขึ้นมาเพื่อแย่งตลาดระดับล่าง ได้แก่ IDT ( Winchip ) ทั้งนี้ ก็เพราะราคา CPU ของ Intel สูงกว่า ของยี่ห้ออื่นๆ นั่นเอง ยิ่งเมื่อเทียบ คุณภาพที่เพิ่มขึ้น ต่อราคาที่เพิ่มขึ้น แล้ว ก็ไม่คุ้มกันเท่าไรนัก ทำให้ AMD เข้ามามีส่วนแบ่งตลาดระดับล่างมากเลยทีเดียว รวมทั้ง IBM, Cyrix ก็ด้วยเช่นกัน หลังจากที่ Intel ได้วางตลาด CPU ตัวใหม่คือ Pentium II ไปแล้ว แต่ด้วยราคาที่แพงมาก เมื่อเทียบกับ ของยี่ห้ออื่น รวมทั้งเปลี่ยน Interface ใหม่มาใช้บน SLOT 1 ซึ่งแน่นอน ใครที่คิดจะใช้ Pentium II ก็ต้องเปลี่ยน Mainboard ใหม่แน่ๆ เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองทำให้อนาคตในตลาดระดับล่างมืดมน แต่ทาง Intel ไม่ต้องการที่จะพลาดท่าเหมือนที่เคยพลาดมาแล้ว จึงได้ ออก CPU Celeron เพื่อมาดึงตลาดระดับล่างคืน โดย Celeron รุ่นแรกๆนี้ มีชื่อ code การผลิตว่า Covinton และ ใช้ Interface SLOT 1 เหมือน
ซีพียู Intel celeron ด้านหลังของซีดียู CeleronSocket 370
Pentium II Celeron Covinton นี้ ใช้ core เดียวกับ CPU Pentium II รุ่นใหม่ๆ ที่มีขนาดความเร็ว 350-450 MHz ( Deschutes core ) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการออกแบบ core ใหม่ และยังตัดส่วนของ cache ระดับ 2 ( L2 cache ) ออกไปด้วย ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงไปอีกมากพอตัวเลยทีเดียว โดยรุ่นแรกที่ออกมานั้น มีความเร็ว 266 และ 300 MHz และราคานั้น ก็ต่างจาก CPU Pentium II ที่ความเร็วเท่าๆกัน กว่าครึ่ง แต่แล้ว ฝันของ Intel ก็ต้องสลาย เพราะการที่ตัด L2 cache ออกไปนั้น เป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง จริงอยู่ที่ว่า ถ้าใช้เล่นเกมส์หรือทำงานง่ายๆแล้ว พวกนี้จะเร็ว พอๆกับ Pentium II แต่หากเป็นงานพวก Office Application หรืองานที่ต้องการ L2 cache แล้วละก็ผลที่ได้จาก Celeron รุ่นนี้ก็แย่มากๆเลยทีเดียว ซึ่งในขณะเดียวกัน นั้นเอง AMD ก็ออก K6-2 ซึ่งใช้ L2 บน Mainboard ที่มีขนาดตั้งแต่ 512K จนปัจจุบันนี้ ก็มี Mainboard ที่ มี L2 cache ถึง 2M ออกมา ก็ทำให้ งานด้านดังกล่าว AMD K6-2 ตี Celeron สาย Covinton เสียกระจุย Intel จึงต้องแก้ไข Celeron เสียใหม่ โดยการเพิ่ม L2 cache เข้าไปบนด้วย เป็น on-die cache ที่มีขนาด 128 KB และ ทำงานที่ความเร็วเดียวกันกับ CPU โดยที่ในส่วนของ CPU ยังคงใช้ architecture เดิม ต่างกันตรง L2 cache เท่านั้น และ ก็ทำการเรียกชื่อ code ใหม่ ว่า Mendocino โดยเริ่มใช้ความเร็วที่ 300MHz และเพื่อไม่ให้สับสนกับ Celeron 300 สาย Covinton จึงเรียกเป็น Celeron 300A
Pentium III เป็นการนำ Pentium II มาเพิ่มชุดคำสั่ง เช่น SSE เข้าไป ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 รุ่นคือรุ่น
Katmai มีคุณสมบัติดังนี้
ใช้เทคโนโลยี 0.25 ไมครอน ซึ่งต้องใช้ไฟเลี้ยงระดับ 2.0 ถึง 2.1 โวลต์ มีแคชระดับสอง (L2 Cache) ขนาด 512 KB อยู่ในแผงเดียวกันกับซีพียู แต่ไม่ได้ผลิตไว้บนตัวซีพียู หากแต่เป็นชิป SRAM ที่อยู่บนแผงวงจรเล็ก ๆ แผงเดียวกับซีพียูอีกทีหนึ่ง และทำงานด้วยความเร็วเพียงครึ่งหนึ่งของซีพียูมีเทคโนโลยี SSE ทีทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ ด้วยคำสั่งเดียวกันได้เร็วยิ่งขึ้นไปกว่า MMXความเร็วของบัสที่ใช้คือ 100-133 MHz และบรรจุในแผงวงจรที่อยู่ในตัวกล่องแบบ SECC-2 (Single Edge Connector Cartridge) ซึ่งใช้เสียบกับ Slot 1 บนเมนบอร์ดทั้งหมดมีการเพิ่มเทคโนโลยี Processor Serial Number ที่สามารถเรียกรหัสประจำตัวหรือเลขที่ (serials number) ของซีพียูที่ไม่ซ้ำกันออกมาได้ ซึ่งตอนแรกอินเทลคาดว่าจะช่วยในการทำงานกับอินเทอร์เน็ตและช่วยให้การทำ E-commerce เชื่อถือได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันผู้คนส่วนใหญ่ ผู้ใช้จึงพากันประท้วงและต่อต้านจนในที่สุดอินเทลก็ยอมแพ้โดยจัดการปิดคุณสมบัตินี้ไว้ก่อนในชิปที่ออกมาจากโรงงาน ส่วนใครต้องการจะใช้จริง ๆ ก็จะต้องมีโปรแกรมจัดการปลุกคุณสมบัติข้อนี้ขึ้นมาทำงานเอาเองทีหลัง

ตารางแสดงรุ่นต่าง ๆ ของ Pentium III รุ่นแรก Katmai

ชื่อรุ่นของ Katmai ตัวคูณ ความถี่บัส(MHz)


Pentium III 600B*

Pentium III 600

Pentium III 550

Pentium III 533B*

Pentium III 500

Pentium III 450

4.5

5.5

6

5.5

5

4.5

133

100

100

133

100

100



รุ่น ใหม่ Coppermine มีคุณสมบัติดังนี้
ใช้เทคโนโลยี 0.18 ไมครอน ที่ทำให้ขนาดเล็กลงมาก และใช้ไฟเลี้ยงลดลงเป็น 1.1 ถึง 1.7 โวลต์เปลี่ยนแคชไปเป็น 256 KB ซึ่งเล็กลงครึ่งหนึ่งแต่มีความเร็วเท่ากับความเร็วซีพียู คือเร็วขึ้นเป็นสองเท่าของชิปเดิม โดยผลิตพร้อมกันกับตัวซีพียู คือใส่ไว้บนชิปตัวเดียวกันเลย ทำให้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นแผงวงจรสำหรับซีพียูและแคชอีกต่อไป ดังนั้นจึงสามารถกลายเป็นชิปธรรมดาแบบ FPGA ที่เสียบลงบนซ็อคเก็ตแบบที่เรียกว่า socket 370 ได้เลยและแม้ว่าขนาดของแคชจะลดลงครึ่งหนึ่งจาก 512 KB เหลือ 256 KB แต่ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นเท่าหนึ่งกับการปรับปรุงระบบแคชและบัส ก็ทำให้ประสิทธิภาพยังคงดีขึ้นกว่าเดิมได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ Intel เรียกว่า Advanced Transfer Cache ซึ่งทำให้แคชสามารถทำงานได้เร็วยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม โดยขยายความกว้างของบัสระหว่างซีพียูกับแคชจากเดิม 64 บิตไปเป็น 256 บิต ซึ่งทำให้ส่งข้อมูลเร็วขึ้นถึง 4 เท่า และเพิ่มระดับการแคชจากเดิม 4 ทางขึ้นไปเป็น 8 ทางได้ (8-way associative) นอกจากนี้ยังลดระยะเวลาในการเข้าถึงข้อมูลในแคชลงอีกด้วย ทำให้การส่งผ่านข้อมูลทำได้เร็วยิ่งขึ้นไปอีกเพิ่ม buffer ของบัส ซึ่ง Intel เรียกการปรับปรุงนี้ว่า Advanced System Buffering โดยการเพิ่ม fill buffer จาก 4 ไปเป็น 6 เพิ่มคิวของบัสจาก 4 ไปเป็น 8 และเพิ่ม write-back buffer จาก 1 ไป เป็น 4 เพื่อให้สามารถรองรับบัสที่ความเร็ว 133 MHz ได้เป็นอย่างดีสำหรับ Coppermine รุ่นที่ใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก จะเพิ่มเทคโนโลยี Speedstep ซึ่งทำให้ซีพียูสามารถลดความเร็วและระดับแรงดันไฟฟ้าลงโดยอัตโนมัติเมื่อใช้ไฟจากแบตเตอรี่เพื่อประหยัดพลังงานแต่จะเปลี่ยนกลับไปทำงานด้วยความเร็วเต็มที่เมื่อใช้ไฟเลี้ยงภายนอก



ซีพียู Pentium III ด้านหลังของ ซีพียู Pentium III Socket 370




ซีพียู Pentium IIICoppermine

ซีพียู Pentium IIIICoppermine แบบ slot 1

CPU Intel Pentium 4 Processor

แสดงโครงสร้างการทำงานและ
การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก





Available Speeds :
1.50 GHz,1.40 GHz,and 1.30 GHz
Features :
Intel R NetBurstTM micro-architecture
400 MHz system bus
Hyper-pipelined technology
Rapid execution engine
Execution trace cache
Advanced transfer cache
Advanced dynamic execution
Enhance floating point/multimedia
Streaming SIMD extensions 2
Chipset :
Intel R 850 Chipset
Desktop Board :
D850GB
RAM:
Dual Channel RDRAM